fbpx
Home
|
ทั่วไป

สสส.ขยายพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ ลดโรค NCDS

Featured Image
สสส. ภาคีฯ ปลื้มผลสําเร็จกระบวนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศแบบมีส่วนร่วม พบ 9 เทรนด์องค์ความรู้ใหม่ สู่ การพลักดันเป็นพื้นที่ต้นแบบพัฒนา 6 ประเภท เพิ่มประสิทธิภาพสร้างสุขภาวะคน สุขภาวะเมืองอย่างเต็มประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน ล่าสุดเปิดพื้นที่อุทยานเบญจสิริ โชว์เคสความสําเร็จจัดกิจกรรม“พัก กะ Park” ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนสร้างสุข เพื่อเมืองสุขภาวะ วันที่ 24 และ 31 มี.ค. เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

 

นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ สนับสนุนนโยบาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหาเมืองและสุขภาวะคนตามนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อย่าง ยั่งยืน ในการผลักดันพัฒนาพื้นที่รกร้างไม่ปลอดภัย เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวในรูปแบบ สวน 15 นาที และร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สํานักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และ welpark จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการงานกรุงเทพมหานคร (สวน 15 นาที) เพื่อสานต่อการพัฒนา ศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานสําหรับการขับเคลื่อนนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุงเทพฯ และสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวเพื่อ ส่งเสริมสุขภาวะทางกายและทางใจสําหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว 2 รุ่น จํานวน 50 คน

 

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อํานวยการสํานักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมผลักดัน พื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นที่ว่าง เส้นทางสัญจร พื้นที่สวนสาธารณะหรือสวนส่วนกลางชุมชนทุกขนาด แม้ กระทั่งพื้นที่ในสถานที่ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เอื้อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉงด้วยความปลอดภัย และมีปัจจัยด้านสุขภาพที่ดีอื่นๆ ประกอบตามบริบทพื้นที่ ตามพันธกิจของสสส. คือ จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริม พลังบุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถ และสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ เพื่อการสร้าง เสริมสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วจึงรักษา เพราะเป็นการสิ้นเปลือง ทั้งค่าใช้จ่ายและบุคลากรจํานวนมาก นอกจากนั้นยังสูญเสียปีสุขภาวะที่ดีในช่วงบั้นปลายชีวิตของคนอีกด้วย

 

“การพัฒนาให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ที่สามารถให้ผู้คนสามารถมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวิถีชีวิต ได้อย่างเท่าเทียม เป็นหนึ่งในปัจจัยกําหนดสุขภาพที่จะส่งผลให้ผู้คนมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค”
นายยศพล บุญสม หัวหน้าโครงการ welpark และผู้ประสานงานเครือพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ กล่าวว่า ผลลัพธ์จากการดําเนินงานด้านพื้นที่สุขภาวะภายใต้การสนับสนุนของสสส. ทําให้พบ 9 ข้อค้นพบซึ่งจะนําไปสู่แนวทาง ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม และขยายไปทั่วประเทศอย่างยั่งยืน ได้แก่

1. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสุขภาวะคนและและสุขภาวะเมือง ซึ่งในไทยพบ แนวโน้มที่สามารถพัฒนาได้ 6 แบบ คือ 1.การออกแบบที่สอดรับกับผู้ใช้งานทั้งสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) สิทธิ และหน้าที่รับผิดชอบพลเมือง (Active Citizen) และเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน (Child -Friendly city) 2.การ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3.การลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน 4.การสร้างพื้นที่สุขภาวะ เช่น สวน 15 นาที 5.สร้างกิจกรรมทางกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ลดภาวะความเครียดและอาการ วิตกกังวล และ 6.ความมั่นคงทางด้านอาหาร

2. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว สู่การสร้างเสริมสุขภาวะคนและสุ ขภาวะเมือง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ 6 ประเภท คือ พื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะแก่คนในชุมชน, พื้นที่เชื่อมต่อเมืองเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน, พื้นที่วิถีชีวิตและธรรมชาติชุมชนริมน้ํา, พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์จากส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่แปลงเกษตรสําหรับคนเมือง และพื้นที่ความหลากหลายทางชีวะภาพของธรรมชาติในเมือง

 

3. การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสู่โครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียว โดยการเชื่อมโยงพื้นที่ขนาดเล็กแทรกเข้าไปในเมืองอย่างเท่าเทียมสามารถเข้าถึงง่ายจากชุมชน สู่พัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวระดับย่าน

 

4. นโยบายการกระตุ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เอกชนสู่พื้นที่สาธารณะสีเขียวใกล้บ้าน ด้วยรูปแบบความร่วมมือ 5 ประเภท คือ รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ของรัฐ ดําเนินการและดูแลโดยรัฐ เช่น สวนวัดหัวลําโพงรุกขนิเวศน์ เขตบางรัก, รูป แบบการพัฒนาพื้นที่ของรัฐลงทุนโดยเอกชนและร่วมมือกันบริหารจัดการ เช่น สวน สาม ก้าว เขตวัฒนา, รัฐและเอกชนใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น สวนสานธารณะ เขตคลองสาน, รูปแบบพื้นที่และ การดูแลของเอกชน และรูปแบบพื้นที่ของเอกชนและพัฒนาเองโดยมีรัฐเข้ามาร่วมดูแลหรือได้รับประโยชน์จากภาษีที่ดิน เช่น สวนริมคลองวัดดอกไม้ เขตยานนาวา

 

5.กระบวนการและเครื่องมือการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวผ่านมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกําหนดพื้นที่โอกาส การพัฒนา การดูแลและบริหารจัดการ โดยการแบ่งปันทรัพยากรที่มี

 

6. ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเร่งด่วนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวใกล้บ้าน ด้วยการพัฒนาแผนที่ความเร่ง ด่วนของเมือง เพื่อเข้าใจบริบทและภาพรวมของพื้นที่ก่อนการพัฒนา ตลอดจนผลลัพธ์ความสําเร็จหลังพัฒนาพื้นที่ และผลลัพธ์และความสําเร็จระดับเมือง

 

7. หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยการนําการถอดบนเรียน การทํางานนํามาออกแบบเป็น 5 หลักสูตร คือหลักสูตรเจ้าหน้าที่รัฐ หลักสูตรเยาวชน หลักสูตรชุมชน หลักสูตรเอกชน และหลักสูตรผู้บริหาร ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้านจากภาคีเครือข่าย อาทิ มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช และกลุ่ม welpark เป็นต้น

 

8. ต้นแบบความร่วมมือกับ 5 ภาคส่วนและกลไกการเชื่อมประสานความร่วมมือภาครัฐ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชา สังคม ภาควิชาชีพ และภาคการศึกษา โดยการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนทรัพยากรจนนําไปสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ อย่างยั่งยืน และ 9. การขยายผลสู่พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ

 

ทั้งนี้ ล่าสุดเตรียมจัดกิจกรรม “พัก กะ Park” พาร์คสร้างสุข เพื่อเมืองสุขภาวะ ในวันที่ 24 มี.ค.และ 31 มี.ค. 2567 เวลา 13.00 – 20.00 น. ที่ อุทยานเบญจสิริ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนา บริหารจัดการ และขยายแนวร่วมนักพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ภายในงานมีกิจกรรมที่ หลากหลาย เช่น เสวนา Sharing for the future พูดคุยเรื่องพื้นที่สาธารณะในมุมมองต่างๆ การนําเสนอโครงการเครือ ข่ายการพัฒนาเมืองและชุมชนสุข เสวนาความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายและพัฒนาพื้นที่สีเขียว รวมทั้งกิจกรรม เวิร์กช็อปที่สะท้อนถึงรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ 6 ประเภท เช่น กิจกรรมทางกาย กิจกรรมปั่นไปพัก ปั่นไป Park, เล่น สร้างสวน, พักใจที่ Park ผัก และดนตรีในสวน เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย สามารถติดตามไฮไลท์กิจกรรม และตารางเวลาได้ที่
https://web.facebook.com/profile.php?id=100093086599098

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube