fbpx
Home
|
ไลฟ์สไตล์

ผลดีและผลเสียของใบกระท่อม ปลดล็อกยาเสพติด

Featured Image

           ปลดล็อกกระท่อม  ทำให้ผู้คนสนใจและราคาของใบกระท่อมพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก วันนี้เลยขอสรุป ข้อมูลเกี่ยวกับใบกระท่อม ว่าคืออะไร ข้อดีข้อเสีย แล้วใช้ใบกระท่อมอย่างไรให้ถูกต้องมาฝากกัน

กระท่อมคืออะไร

          พืชกระท่อม Kratom หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) HaviL. คือ พรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae ถูกนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านมานานหลายร้อยปีแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ตกอยู่ภายใต้ยาเสพติดประเภทที่ 5 

          แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการทำวิจัยเกี่ยวกับพืชกระท่อมอย่างแพร่หลายและให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย จึงมีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้มีกฎหมายครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรม พฤติกรรม สุขภาพ และ วิทยาศาสตร์ ตอนนี้ กระท่อม ได้ถูกปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป นำไปสู่ขั้นตอนการร่าง พ.ร.บ.พืชกระท่อม เพื่อควบคุมรายละเอียดการปลูกและการจำหน่าย จึงทำให้หลายคนเริ่มสนใจประโยชน์ของใบกระท่อม

ประโยชน์ใบกระท่อมต่อสุขภาพ

จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายช่วยรักษาและมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวด

  • บรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น อาการเจ็บปวดทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น
  • บรรเทาอาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้นโดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ใช้บดทำเป็นยาสมุนไพรสำหรับพอกรักษาแผล
  • ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า รักษาระดับพลังงาน ทำงานได้นานขึ้น และไม่หิวง่าย
  • รักษาอาการมวนท้อง โรคบิด ท้องเสีย ท้องเฟ้อ และช่วยในเรื่องการเผาผลาญ
  • บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายในผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
  • แก้นอนไม่หลับ ช่วยระงับประสาท คลายวิตกกังวล
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์สำคัญของร่างกาย

วิธีใช้ใบกระท่อม

คนทั่วไปเคี้ยวใบกระท่อมสด 1-3 ใบ หรือบดใบแห้งเป็นผงชงชา หรือต้มน้ำดื่ม ผลจากการใช้พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิวไม่อยากอาหาร ไม่รู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นาน ทนแดด ทนร้อนมากขึ้น แต่จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาอากาศเย็นหรือครึ้มฟ้าครึ้มฝน

การใช้กระท่อมในปริมาณที่ปลอดภัย และผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงระยะสั้นของใบกระท่อม เนื่องจากสารเคมีในใบกระท่อมในปริมาณต่ำประมาณ 1-5 กรัม จะเกิดผลคล้ายยากระตุ้นจะรู้สึกได้ภายใน 10 นาที และสารเหล่านี้จะอยู่ในร่างกายเป็นเวลา 60-90 นาที

ผลข้างเคียงระยะยาวของใบกระท่อม ส่งผลต่อจิตใจและระบบประสาท

เนื่องจากสารเคมีในใบกระท่อมในปริมาณ 15 กรัม (ทำให้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและเป็นยากล่อมประสาท) จะออกฤทธิ์ได้นานหลายชั่วโมง แต่ถ้ามากเกินไปอาจเป็นอันตราย หากใช้ใบกระท่อมเป็นประจำอาจมีผลข้างเคียงต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
  • เซื่องซึมเคลื่อนไหวช้า
  • ร่าเริ่งผิดปกติ
  • นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
  • ไตเกิดความเสียหาย ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มมาก
  • ผิวหนังเป็นสีเหลือง เกิดจากตับทำงานอย่างหนักในการกรองสารพิษออกจากร่างกาย

สารสำคัญในใบกระท่อมออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากการศึกษาวิจัยพบว่าสารเคมีที่พบในพืชกระท่อมมีหลากหลายกลุ่ม เช่น 

  • alkaloids สารอินทรีย์ หน้าที่พวกมันยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าไว้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
  • flavonoids สารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ 
  • phenolic compounds เป็นสารที่พบในพืชธรรมชาติหลายชนิด มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ 

          ตัวอื่นๆ ได้แก่ ไมทราไจนีน ที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับยาบ้า พร้อมมีโครแนนทิดีน (corynantheidine) และสเปคชิโอชิลเลียทีน (speciociliatine) ซึ่งพบว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทคล้ายกับมอร์ฟีน

          ใบกระท่อมถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ โดยการนำกระท่อมมาผสมยาเครื่องดื่มยอดนิยมของวัยรุ่นภาคใต้ของประเทศไทย เรียกอีกอย่างว่า 4×100 เป็นส่วนผสมของใบกระท่อมและยาแก้ไอที่มีโคเดอีนหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งให้ผลทำให้ง่วงซึมล่องลอย บางคนก็นำใบสดมาเคี้ยว หรือใบสดต้มน้ำดื่ม หรือใบแห้งบดชงเป็นชาแม้ใบกระท่อมจะดีต่อสุขภาพหลายด้าน

          แต่ในขณะเดียวกันนักวิจัยพบหลักฐานมากมายว่าใบกระท่อมมีความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพหากใช้ในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 15 กรัมขึ้นไป ถึงจะมีการปลดล็อกใบกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางอาหารและยาแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรระมัดระวังทางกฎหมายที่ควรคำนึงถึง โดยเฉพาะการนำไปใช้ผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น ติดตามเนื้อหาอื่นๆ ได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube