fbpx
Home
|
เศรษฐกิจ

“อนุสรณ์” คาด กนง.คงดอกเบี้ย แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง

Featured Image
“อนุสรณ์” คาด กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ขณะราคาน้ำมันอาจกลับมาทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้อีก

 

 

 

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 27 ก.ย.นี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนส.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 0.88% เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 0.79%

 

 

นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเป้าหมายต่อเนื่อง สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงรัฐบาลรักษาการก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลเศรษฐาได้ ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนว่า มีอัตรากำลังการผลิตส่วนเกินอยู่จำนวนมาก ไม่มีสัญญาณใดๆที่แสดงถึงอุปสงค์ส่วนเกินร้อนแรง ในระยะ 8 เดือนแรกอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายพอสมควร

 

 

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.01% และ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.61% อัตราเงินเฟ้อในไทยและโลกอาจเร่งตัวขึ้นได้อีกจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยมองว่าราคาน้ำมันอาจกลับมาทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีก จากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคพลัส ทำให้น้ำมันดิบสำรองขาดอยู่ประมาณ 313 ล้านบาร์เรล ขณะที่ อุปสงค์น้ำมันโลกอยู่ที่ 2.44-2.45 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี พ.ศ. 2566-2567

 

 

ขณะที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ กองทุนบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันล่วงหน้าต่างกระโจนเข้าสู่การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ซาอุดิอารเบีย และ รัสเซีย จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลงวันละ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปี ปัจจัยดังกล่าวจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent แตะระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 93-94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันระดับดังกล่าวย่อมสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อจากต้นทุนอีกระลอกหนึ่งในช่วงไตรมาสสี่

 

 

อย่างไรก็ตาม กรณีของไทย มีการใช้มาตรการภาษีและกองทุนน้ำมันอุดหนุนราคาน้ำมัน ทำให้ราคาภายในประเทศไม่สูงจนเกินไปแต่จะเพิ่มภาระทางการคลังมากขึ้นเรื่อยๆหากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงนาน ค่าไฟฟ้าถูกตรึงราคาไว้โดยการยืดการชำระหนี้ให้ กฟผ ไม่ใช่การปรับสัญญาสัมปทานผลิตไฟฟ้าให้เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณมาชำระหนี้ให้ กฟผ ต่อไป

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube