fbpx
Home
|
ข่าว

สว.จี้หน่วยงานรัฐป้องกันไม่ให้เกิดทุจริตซ้ำ

Featured Image
“ปานเทพ” หารือที่ประชุม สว.แจ้งเตือนหน่วยงานของรัฐ ป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตซ้ำ ขณะ “ถวิล” หารือถึงกระบวนการยุติธรรมที่ดีจะต้องปกป้องคุ้มครองคนดี

 

 

 

 

 

 

การประชุมวุฒิสภา วันนี้ (26 ธ.ค.66) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ได้เปิดให้สมาชิกนำปัญหาต่างๆ เข้าหารือ อาทินายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ สมาชิกวุฒิสภา ได้หารือถึงการแจ้งเตือนหน่วยงานของรัฐทุกหน่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตซ้ำ โดยเสนอแนะให้ ป.ป.ช. ออกหนังสือแจ้งเตือนหน่วยงานรัฐทุกหน่วยเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่อการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม

 

 

 

 

 

ด้านนายถวิล เปลี่ยนศรี สมาชิกวุฒิสภา หารือถึงกระบวนการยุติธรรมที่ดีจะต้องปกป้องคุ้มครองคนดี ผู้ถูกกระทำ และอีกทางหนึ่งต้องทำให้คนไม่ดีเกรงกลัวต่อการถูกลงโทษและไม่กล้ากระทำความผิดซ้ำอีก ซึ่งขอกระทรวงยุติธรรมทบทวนบทลงโทษและระเบียบของราชทัณฑ์จะต้องบังคับโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเพื่อให้คนในสังคมเกรงกลัวต่อกฎหมายการลงโทษ

 

 

 

 

ขณะที่ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้หารือไปยังนายกรัฐมนตรีกรณีที่รัฐบาลแถลงจะทำประชามติเพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ตนในฐานะอดีตประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียงประชามติให้คณะรัฐมนตรีไปดำเนินการวุฒิสภา โดยวุฒิสภาได้มีการหารือและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ชี้แจงเรียบร้อยมีการจัดทำรายงานต่อวุฒิสภา และมีข้อกังวลไปยังคณะรัฐมนตรีที่จะต้องทำประชามติว่าการร่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

 

 

 

โดยการจัดทำประชามตินั้นจะต้องจัดทำอย่างน้อย 3 ต้นทุนครั้งละ 3,500 ล้านบาท ใกล้เคียงกับการเลือกตั้ง หรือใช้งบประมาณ 10,500 ล้านบาท เพราะในการกำหนดให้มีการทำประชามติ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 475,000 คนหน่วยละ 5 คน กว่า 95,000 หน่วย ต้องมีการเลือกตั้ง สสร.ทั่วประเทศ ซึ่งไม่เคยมีในประเทศไทย แต่การเลือกตั้ง สสร.เมื่อปี 2539 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นการเลือกทางอ้อมและให้สภาเลือก แต่หากเลือก สสร.ทั้งประเทศจะแบบเขตจังหวัดหรือแบบการเลือกตั้งทั่วไป คาดการณ์ต้องใช้เงิน 5,000 ล้านบาท ยังไม่รวมเงินเดือน สสร. ประมาณ 100 คน

 

 

 

 

 

และผู้ติดตามรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกประมาณ 200 ล้านบาท เบ็ดเสร็จก็จะใช้เงินประมาณ 15,700 ล้านบาทหรือมากกว่า ทั้งนี้ ตนกังวลที่จะต้องเรียนไปยังคณะรัฐมนตรีที่จะต้องทำประชามติว่าการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยการทำประชามตินั้นจะต้องทำอย่างที่คณะทำงานฯชี้แจงต้อสภาหรือแถลงข่าวเมื่อวานนี้ว่าอย่างน้อย 3 ครั้ง ต้นทุนในการทำประชาธิปไตยอันแสนแพงด้วยการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านประชามติมา 16 ล้านแปดมาแล้วจะร่างใหม่ มีต้นทุนครั้งละ 3,500 ล้านบาทใกล้เคียงกับการเลือกตั้ง ถ้ำทำสามครั้งจะใช้เงิน 10,500ล้านบาท

 

 

 

 

 

สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมที่จะต้องมีการขอจัดทำประชามติว่าไม่มีการแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 นั้น ตนอยากให้กลับไปอ่านเอกสารฉบับดังกล่าว โดยมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ 2560 ถึง 39 มาตรา ในหมวด 1 และ 2 มีถึง 11 มาตรา ที่เหลือ 27 มาตรา อยู่ในหมวดอื่นๆของรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลไม่ได้ระบุไว้ถึงในการจัดทำประชามติและระบุถึงการแก้ไขได้หรือไม่ ตนเห็นห่วงเกรงว่าจะเกิดความคุ้มค่าหรือไม่กับการจัดทำประชามติที่ต้องจัดทำทั้งฉบับแทนการร่างหรือแก้ไขในสภา

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube