Home
|
ภูมิภาค

ตรังสั่งเปิดรับนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

Featured Image
นายกเทศมนตรีเมืองกันตังปัดฝุ่นท่าเรือกันตัง หวังสร้างรายได้จากท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกลับมาอีกครั้ง

 

 

หลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 หลายประเทศที่ชะลอและนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าผ่านท่าเรือเทศบาลเมืองกันตังปริมาณสินค้าลดน้อยลง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นท่าเรือเทศบาลเมืองกันตังเป็นอีกท่าเรือหนึ่งที่มีความสำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่าเรือเทศบาลเมืองกันตัง ตั้งอยู่ถนนเลียบแม่น้ำตรัง ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง มีสะพานด้วยกัน 3 ตัว ความยาวรวมกัน 300 กว่าเมตร เรือขนส่งสิน้าสามารถจอดพร้อมกัน 3 ลำ

 

 

นายสรนนท์ จิโรจน์มนตรี นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง เปิดเผย.ว่า”วันนี้ท่าเรือกันตังก็เปิดให้บริการมีเรือนำเข้าอาหารสัตว์คือเม็ดข้าวโพดมาจากประเทศพม่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้ว ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าก็ใช้ท่าเรือเอกชน หากผู้ประกอบการเรือจะมาใช้บริการขนถ่ายสินค้ากับท่าเรือเทศบาลเราก็ยินดีให้บริการ ที่ผ่านมาท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองกันตังไม่ได้ปิด

 

 

เพียงแต่ไม่มีสินค้านำเข้าและส่งออกเท่านั้น อีกทั้งผู้แระกอบนำเข้าส่งออกสิน้ามีท่าเรือของนเอง ความสะดวกสบายคือ การขนส่งทางรถยนต์ใกล้กว่าท่าเรือเอกชนหลายๆ แห่ง ดังนั้นทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจมาใช้บริการที่ท่าเรือเทศบาล ในส่วนการปรับปรุงท่าเรือกันตังเพื่อให้ความสะดวกกับผู้ประกอบการนั้น ขึ้นอยู่ที่ผู้ประกอบการว่าจะขนส่งสินค้าประเภทไหนให้มาพูดคุย ว่าจะให้ท่าเรือปรับปรุงเพิ่มเติมอะไร เทศบาลยินดีให้บริการและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการต่อไป”

 

 

ขณะนี้ท่าเรือเทศบาลเมืองกันตังนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ มีเรือนำเม็ดข้าวโพดเฉพาะสินค้าบรรทุกครั้ง 2,700ตัน เพื่อทำเป็นอาหารสัตว์ จากพม่าปลายทาง โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ในพื้นที่ จ.สงขลา ขนถ่ายจากเรือขึ้นรถบรรทุกไปส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ จ.สงขลา ก่อนหน้านี่ท่าเรือเทศบาลเมืองกันตังมีท่าเรือแห่งเดียว รองรับขนส่งสินค้าทุกประเภท ทั้งสินค้าเทกอง สินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าส่งออกคือ ปูนซิเมนต์บรรจุถุง ปูนซิเมนต์อัดเม็ด น้ำยางข้น ไม้ยางพาราแปรรูป เฟอร์นิเจอร์ แร่ยิปซั่ม แร่โซเดี่ยมเฟวปา และสินค้าอื่นๆ ส่วนสินค้านำเข้า ถ่านหิน อะไหล่เครื่องจักรในโรงงาน และอื่นๆ

 

 

ปัจจุบันท่าเรือในพื้นที่บริการของด่านศุลกากรกันตัง 4 ราย 1.ท่าเรือเทศบาลเมืองกันตัง 2.ท่าเรือยูโซบอินเตอร์เนชั้นแนล 3.ท่าเรือโชคชัย 4.ท่าเรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เป็นท่าเรือที่มีศักยภาพในการขนส่งสินค้าไปหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย เขมร เวียดนาม อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง สินค้าที่ส่งออกจากท่าเรือกันตัง ส่วนมากหากเป็นสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์จะส่งไปขึ้นเรือขนาดใหญ่ที่ ท่าเรือปีนัง มาเลเซีย เพื่อส่งสินค้าประเทศปลายทาง จีน ใต้หวัน ญี่ปุ่น หากเป็นสินค้าประเภท แร่ ปูนซิเมนต์บรรจุถุง ปูนซิเมนต์เม็ด จะส่งจากท่าเรือกันตังไปยังประเทศปลายทาง

 

 

ตัวเลขรายได้จากท่าเรือเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2559 มีรายได้ 10,266,713.20บาท ในปี 2563 รายได้ 57,149.80บาทเป็นช่วงการระบาดของโรคโควิด รายได้ลดลง อย่างเห็นได้ชัด ส่วนผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่จะใช้ท่าเรือกันตังก็สามารถเข้ามาติดต่อได้ที่สำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง
รายได้จากท่าเรือเทศบาลเมืองกันตัง

 

สำหรับมูลค่านำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านพิธีการด่านศุลกากรกันตัง

สถิติมูลค่านำเข้า/ส่งออกปีงบประมาณ 2555-2565

ปี 2555 นำเข้า 2,260.ล้านบาท ส่งออก 28,126.ล้านบาท รวม 30,386.ล้านบาท

ปี2556นำเข้า 1,284.ล้านบาท ส่งออก 23,609.ล้านบาท รวม24,893.ล้านบาท

ปี2557นำเข้า 1,140.ล้านบาท ส่งออก 27,104.ล้านบาท รวม28,245.ล้านบาท

ปี2558นำเข้า 887.54ล้านบาท ส่งออก 13,886.36ล้านบาท รวม14,773.ล้านบาท

ปี2559นำเข้า 683.10ล้านบาท ส่งออก 16,257.06ล้านบาท รวม16,940.16ล้านบาท

ปี2560 นำเข้า 140.361ล้านบาท ส่งออก 5,513.812ล้านบาท รวม5,654.128ล้านบาท

ปี2561 นำเข้า 555.29ล้านบาท ส่งออก 15,688.24ล้านบาท รวม16,243.53 ล้านบาท

ปี2562 นำเข้า 656.11ล้านบาท ส่งออก 12,476.28ล้านบาท รวม13,132.39 ล้านบาท

ปี2563 นำเข้า 525.5ล้านบาท ส่งออก 15,224.04ล้านบาท รวม15,749.54 ล้านบาท

ปี2564 นำเข้า 784.68ล้านบาท ส่งออก 11,414.01ล้านบาท รวม12,19.86 ล้านบาท

ปี2565 นำเข้า 979.89ล้านบาท ส่งออก 13,556.63ล้านบาท รวม14,536.52 ล้านบาท

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube