fbpx
Home
|
ภูมิภาค

กรมศิลปากรยันโครงกระดูกที่พบเป็นคนยุคเหล็ก

Featured Image
กรมศิลปากร ยืนยันโครงกระดูกกลางทุ่งนา ที่ขุดพบที่ขอนแก่นเป็นกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กอายุประมาณ 2,500 ปี

 

 

นายดุสิต ทุมมากร ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปากร กล่าวว่า จากการสอบถามเจ้าขอ งพื้นที่นาทราบว่า มีทั้งหมดจำนวน 12 ไร่ 2 งาน แต่ในพื้นที่ที่พบโครงกระดูกนั้นมีพื้นที่ประมาณหนึ่งไร่ ส่วนโครงกระดูกที่พบเป็นโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กอายุประมาณ 2,500 ปี ถึง 1,500 ปี และพบเศษเครื่องปั้นดินเป็นหม้อดินมีลายเชือกทาบ และหินดุที่ใช้สำหรับทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งไม่ได้หนาแน่นมาก แสดงว่าการปรับไถดินครั้งนี้อาจจะยังไม่ถึงระดับที่เจอวัตถุโบราณมาก แต่ถ้าขุดลงไปอาจจะเจออีก

 

“ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือจากเจ้าของที่นาว่าให้พอแล้วสำหรับการปรับไถเพื่อจะรักษามรดกทางศิลปะวัฒนะธรรมของชาติที่สำคัญอันนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป เพราะตรงนี้เป็นเนินดินขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 เมตรแต่บางส่วนบริเวณชายเนินถูกปรับเป็นที่นาไปแล้วเหลือแต่ยอดเนินซึ่ง ทางเจ้าของที่ดินก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งทางราชการ กำลังงับการปรับไถให้พอเท่านี้ก่อน
นายดุสิต ทุมมากร ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี กล่าวอีกว่า พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเป็นบ้านเมืองโบราณของบรรพชนคนไทยที่อาศัยอยู่ตรงนี้เมื่อประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วในสมัยที่เราเรียกว่ายุคกรีกในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย”

 

นายดุสิต กล่าวต่ออีกว่า การดูแลรักษาส่วนนี้ ศิลปากรขอนแก่น ได้รับงบประมาณ จากกรมศิลปากร 800,000 บาทเพื่อทำการสำรวจเมืองโบราณชุมชนโบราณในเขตจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้เริ่มงานมาตั้งแต่เดือน ม.ค.เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจุดนี้เมื่อพบก็จะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนี้ไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดระดับความสำคัญก่อนหน้าหลังว่าชุมชนไหนที่มีความสำคัญและมีลักษณะโดดเด่นและจะทำการศึกษาพัฒนาต่อ ซึ่งก็หมายความว่าทางกรมศิลปากรให้ความสำคัญกับชุมชนเหล่านี้มากโดยเฉพาะชุมชนแห่งนี้เป็นตัวอย่างอย่างหนึ่งที่เราเห็นเพราะเนินแบบนี้เลยและต้องยอมรับว่าภาคอีสาน มีเยอะมากโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเกือบทุกเนินมักจะเป็นของเหล่านี้

 

“แต่ก็มักจะมีผู้ไม่หวังดีกลุ่มค้นหาของเก่ามักจะเข้ามาหาลักขุด โดยนำเอาเครื่องตรวจโลหะเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดไปหาซึ่งตามหมู่บ้าน แต่ถ้าชาวบ้านเจอคนมีลักขุดก็ให้แจ้งสำนักศิลปากรที่8ขอนแก่นจะดำเนินการดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านั้นถือว่าเป็นบุคคลที่ได้ทำลายมรดกศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถือว่านะบ้านแวงน้อยแหล่งนี้ ถือว่าเป็นตัวอย่างซึ่งเราจะเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลและจะหาแนวทางศึกษาวิจัยต่อไปส่วนกรณีการที่ชาวบ้านมาขอโชคลาภหรือมาเหยียบย่ำ

 

คงต้องให้ความรู้กับชาวบ้านและต้องบอกประชาชนว่านี่คือหลักฐานที่แสดงถึง บรรพชนของคนไทย ในเมื่อท่านเป็นบรรพชนของเราเราก็ต้องควรจะเคารพตอนนี้ดอกไม้หรือเครื่องบูชาถือว่าเป็น ประเพณี วัฒนธรรม ของ คนไทย ซึ่ง ถือว่า เป็น วัฒนธรรม ที่ดี ซึ่ง หมายถึง ว่า ยัง ระลึกถึง บรรพชน ของเรา อยู่ แต่ เพียงแต่ว่า ต้อง จัดสรร ให้ เหมาะสม ให้ คน เดิน เป็นระเบียบ ให้ อยู่ ใน พื้นที่ ที่ เหมาะสม อย่า ไป เหยียบย่ำ ใกล้ ใกล้ วัตถุ โบราณ ต้องการ ขอบเขต พื้นที่ ให้ เหมาะสม ชัดเจน ก็ น่าจะเป็น สิ่งที่ ดี ก็ น่าจะ สามารถ กระทำ ได้ ไม่น่าจะมีปัญหา

 

ส่วนโครงกระดูกที่พบนั้น ยังตอบไม่ได้ว่าเพศหญิงหรือเพศชาย เพราะโครงกระดูกค่อนข้างชำรุดมาก อาจเพราะกาลเวลาหรือมีการชำรุดมาจากอดีตไม่ใช่การชำรุดจากการค้นพบ อาจถูกแรงกดของแผ่นดินทำให้แบนมากโครงกระดูกผุมากต้องขอเวลาวิเคราะห์”

 

ขณะที่ น.ส.ณัฐฐกาณฑ์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปากร ลงพื้นที่มาตรวจสอบจนทราบว่า โครงกระดูกที่พบในที่นานั้น เป็นกระดูกของบรรพบุรุษของเรา ก็จะดูแลรักษา และไม่ให้ใครเข้ามาขุดหรือทำลายให้เสียหาย และถ้ามีใครจะเข้ามาชมก็จะต้องแจ้งให้ทราบก่อน ส่วนการทำนานั้นก็ยังจะทำต่อไป แต่การขุดเนินดินในบริเวณนานั้นจะหยุดไว้เพียงเท่านี้ และจะรักษาทรัพยสินบริเวณดังกล่าวให้ดีที่สุด

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube