fbpx
Home
|
อาชญากรรม

“เพนกวิน”ปฏิเสธเจาะเลือดตรวจน้ำตาล-ร่างกายเพลีย

Featured Image

“เพนกวิน” ปฏิเสธการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลจากปลายนิ้ว อาการโดยรวมยังหลับได้ อ่อนเพลียเล็กน้อย จนท.ให้เกลือแร่

กรมราชทัณฑ์ เปิดเผยอาการล่าสุดของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน หลังประกาศอดอาการว่า ล่าสุด ในวันนี้ (30 มีนาคม 2564) เมื่อเวลา07.35 น. เจ้าหน้าที่พยาบาลได้ตรวจติดตามอาการ เบื้องต้น พบว่าเจ้าตัวปฏิเสธการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลจากปลายนิ้ว มีน้ำหนัก 103 กิโลกรัม สัญญาณชีพโดยทั่วไปปกติ อุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส อัตราเต้นของหัวใจ 68 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที ความดัน โลหิต 112/ 66 มิลลิเมตรปรอท

เพนกวิน2

ทั้งนี้ นายพริษฐ์ สามารถนอนหลับพักได้ปกติ มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย เจ้าตัวยังคงปฏิเสธการรับประทานอาหาร จึงยังคงให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและดื่มเกลือแร่ทดแทน ไม่มีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ ส่วนอาการผื่นคันบริเวณหน้าอกและผื่นที่หลังขณะนี้ลดลงแล้ว

 

สมศักดิ์ เทพสุทิน -30-3-64 เพนกวิน

“สมศักดิ์” ยืนยันทุกคนให้ความเป็นห่วง”เพนกวิน”หลังอดอาหาร กำชับไม่ให้มีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น จ่อวิดีโอให้ผอ.เรือนจำรับทราบนโยบาย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี ร.ต.ธนกฤติ จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงติธรรมประสานมารดานายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำกลุ่มราษฎร ให้เลิกอดอาหารเพราะเป็นห่วงสุขภาพ ว่า ทุกคนให้ความเป็นห่วงนายพริษฐ์เพราะถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจะเกิดปัญหา ตนได้กำชับไปแล้วต้องไม่มีเหตุอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น

โดยสัปดาห์นี้จะวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ให้ ผอ.เรือนจำ ทั้งหมดรับทราบนโยบายและเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นให้ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงต้องปฏิบัติตามระเบียบเป็นไปตามสิทธิมนุษยชน ซึ่งต้องมีความละเอียดไม่ให้มีเรื่องของความไม่เข้าใจเกิดขึ้น ส่วนหาก นายพริษฐ์ เจ็บป่วยขึ้นมาโรงพยาบาลของกรมราชทัณฑ์มีมาตรฐานเพียงพอหรือไม่

นายสมศักดิ์ ระบุว่า เรื่องมาตรฐานของโรงพยาบาลดีเหมือนกันหมดไม่มีปัญหาเพียง แต่เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ มีจำกัดเพียง 1 คน ต่อนักโทษ 33 คน ซึ่งตนจะกำชับให้ดูแลละเอียดขึ้น เมื่อถามว่าจะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ  เพราะล่าสุด น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้งแกนนำกลุ่มราษฎร ประกาศจะอดอาหารบ้าง

นายสมศักดิ์ ระบุว่า ป้องกันอะไรไม่ได้ แต่เราระมัดระวังอย่าให้เป็นอันตรายทก็ทำให้ดีที่สุด และไม่ปล่อยปะละเลย โดยเฉพาะข้อมูลต้องประสานกันให้รวดเร็วเพื่อป้องกันความไม่เข้าใจ เพราะบางครั้งก็เป็นข่าวไปหลายวันสร้างความสับสน ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่มีอะไรรุนแรงเมื่อถามว่าลำบากใจหรือไม่ที่นักโทษในเรือนจำอดอาหาร ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการเช่นนี้มาก่อน นายสมศักดิ์ ระบุว่า ผู้คุมก็ต้องดูเพราะเป็นความรับผิดชอบ

ส่วนกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ถอดกำไลอีเอ็ม นายสมศักดิ์ ระบุว่า มีอีเอ็ม ก็เป็นเครื่องเตือนใจ ถอดแล้วก็แสดงว่าหมดเวลาของพันธนาการ แล้วเข้าสู่โหมดการใช้ชีวิตไปไหนมาไหนได้ปกติ ส่วนจะไปทำกิจกรรมทางการเมืองได้หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบต้องไปดูคำสั่งศาล

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนมีแนวคิดเรื่องการปล่อยนักโทษร้ายแรงก่อนเวลา แล้วใช้ระบบใส่กำไลข้อเท้าติดตามตัว ซึ่งได้แลกเปลี่ยนประชาชนไป 3 ครั้งแล้ว เป็นบวกและตรงกันที่กระทรวงอยากดำเนินการแต่ก็ต้องฟังเสียงประชาชนอีกสักระยะ เพราะถ้าเราปล่อยปะละเลยเหมือนในอดีตก็จะเกิดการกระทำความผิดซ้ำ

 

 

 

ธวัชชัย-ชัยวัฒน์-รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์-30-3-64

ราชทัณฑ์ เร่งจัดทำ SOPs เพื่อลดการใช้ดุลพินิจผู้ทำงานพร้อมรับคำสั่งศาล ตรวจโควิด-19 กลางดึกไม่เคารพสิทธิ แต่ไม่ละเมิดกฎหมาย-ไม่ได้ข่มขู่ คุกคาม

นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยกรณีที่นายอานนท์ นำภา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอคุ้มครองความปลอดภัยชีวิตในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาว่า ผู้ร้องถูกข่มขู่ คุกคาม อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายตามร้องหรือไม่ นั้น

เมื่อวานนี้ (29 มีนาคม 2564) ศาลอาญาได้มีคำสั่ง ภายหลังจากที่ได้พิจารณาไต่สวน เอกสาร วัตถุพยาน รวมถึงการเปิดภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกภาพและเสียงจากกล้องวงจรปิดบริเวณห้องขัง จึงเชื่อได้ว่า การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ เป็นการดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 และต้องการแยกการคุมขังยังสถานที่อื่น โดยมิได้มีความมุ่งหมายที่จะข่มขู่ คุกคาม หรือทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้ร้องกับพวก เพียงแต่การกระทำของเจ้าพนักงานเรือนจำ แม้จะไม่ได้ถึงขนาดเป็นการล่วงละเมิดต่อกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นการกระทำโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม การดำเนินการตรวจร่างกายผู้ต้องขัง หรือย้ายสถานที่คุมขัง หรือการทำการใดๆ

กรมราชทัณฑ์จึงต้องดำเนินการในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม สมควร และเป็นไปตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในฐานะผู้ต้องขัง กล่าวโดยสรุป ศาลเห็นว่า การดำเนินการของเจ้าพนักงานเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอันกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องกับพวกเท่าที่ควร และเห็นควรให้เจ้าพนักงานเรือนจำที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่โดยใช้ความระมัดระวังเพื่อให้ผู้ร้องกับพวกได้รับการคุ้มครองตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง

นายธวัชชัย กล่าวต่อ ถึงประเด็นที่ต้องพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ว่า ขณะนี้กรมราชทัณฑ์ อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจัดทำ Standard Operatiฑ์ng Procedures หรือ SOPs เพื่อเป็นระเบียบกลางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณ โดยเฉพาะรายละเอียดขั้นตอนพื้นฐานเพื่อลดการใช้ดุลพินิจของผู้ปฏิบัติงานให้น้อยลง และให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งทั่วประเทศ

อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทบทวนเอกสาร และคำสั่งที่เคยประกาศใช้ เพื่อจัดทำร่าง SOPs และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในช่วงกลางเดือนเมษายน 2564 นี้

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube