fbpx
Home
|
ข่าว

“สมชัย”ร่ายยาวความแตกต่างองค์กรอิสระ-หน่วยงานราชการ

Featured Image

 

 

 

“สมชัย”ร่ายยาวความแตกต่าง องค์กรอิสระ กับหน่วยงานราชการ มีความเป็นอิสระ การตัดสินใจไม่ขึ้นตรงต่อฝ่ายการเมือง แต่ยอมรับก็มีปัญหา เช่น กกต.ที่ถูกฟ้อง

 

 

 

 

 

 

ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดโครงการสัมนาวิชาการ หัวข้อ “กระบวนการตรวจสอบองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง , รศ.ดร.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง , ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด และนายวีระพล ตั้งสุวรรณ อดีตประธานศาลฎีกา และนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าร่วม

 

 

 

 

 

โดย รศ.สมชัย กล่าวว่า คนขององค์กร เหล่านี้มีความแตกต่างระหว่างองค์กรอิสระ กับหน่วยงานราชการ คือ เจ้าหน้าที่มีสถานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐไม่ใช่ข้าราชการ และมีค่าตอบแทนที่สูงกว่าราชการประมาณร้อยละ 30 มีระบบการบริหารงานบุคคลที่เป็นของตนเอง ไม่ขึ้นกับองค์กรเป็นบริหารงานบุคคลของรัฐ มีความเป็นอิสระในการบริหารงานและการตัดสินใจไม่ขึ้นตรงต่อฝ่ายการเมืองทุกองค์กร จะมีพระราชบัญญัติประกอบและธรรมนูญของตนเป็นกรอบในการปฎิบัติหน้าที่ และระบบการตัดสินใจสูงสุดเป็นองค์คณะในรูปคณะกรรมการ

 

 

 

 

 

โดยการเลือกบุคลากรของคณะกรรมการองค์กรอิสระนั้น มีการกำหนดคุณสมบัติ ค่อนข้างสูง อาทิเช่น อายุไม่น้อยกว่า 45 ปี ไม่เกิน 70 ปี รับราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีไม่น้อยกว่า 5 ปี ผู้บริหารสูงสุดรัฐวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่า 5 ปี ศาสตราจารย์ ไม่น้อยกว่า 5 ปี ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายไม่น้อยกว่า 20 ปี ทำงานภาคประชาสังคมไม่น้อยกว่า 20 ปี ผู้บริหารระดับสูงองค์การมหาชนไม่น้อยกว่า 10 ปี และมีคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลปกครองสูงสุด และกรรมการจากองค์กรอิสระอื่น ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับผู้เป็นองค์กรอิสระองค์กรละหนึ่งคนเป็นกรรมการสรรหา เป็นตำแหน่งที่ต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

 

 

 

 

 

รศ.สมชัย กล่าวถึง ปัญหาในการทำงานขององค์กรอิสระ อาทิ 1.การกำหนดคุณสมบัติที่สูงเลิศของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทำให้องค์กรดังกล่าวสามารถทำงานด้วยความเป็นกลางมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การปฏิรูปทางการเมืองไทยได้จริงหรือไม่

 

 

 

 

2.การทำงานขององค์กรอิสระเป็นการทำงานที่แตกต่างไปจากระบบราชการทั่วไปในด้านการไม่ยึดติดกับกฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพใช่หรือไม่ 3.หากองค์กรอิสระมีความผิดพลาดบกพร่องในการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่เป็นกลาง เอนเอียงสนับสนุนฝ่ายการเมืองบางฝ่าย จะมีกลไกในการตรวจสอบกำกับการทำงานขององค์กรดังกล่าวใช่หรือไม่ 4.จะมีแนวคิดในการปฏิรูปองค์กรอิสระของประเทศไทยให้เป็นองค์กรที่เกิดประโยชน์ตามเจตนารมย์ของการมีองค์กรดังกล่าวเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริงได้อย่างไร

 

 

 

 

 

 

ยกตัวอย่างการทำงานที่เป็นข้อผิดพลาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กรณีตัดสินใบส้มของกกต.ตั้งชุดที่ 5 ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีต้องชดใช้ค่าเสียหายประมาณ 70 ล้านบาท กรณีของนายสุรพล เกียรติไชยากร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 8 สมัย ที่กกต.ให้ใบส้มจึงมีการฟ้องร้องและชนะคดี

 

 

 

 

 

รศ.สมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนกลไกการตรวจสอบขององค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ 2560 ยกตัวอย่าง ตามมาตรา 234 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหน้าที่และอำนาจไต่สวนและมีความเห็นกรณี มีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐมนูญ หรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบและรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนการใช้กลไกผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามมาตรา 230 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

 

1.เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมายกฎข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งหรือขั้นตอน การปฎิบัติงานใดใดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนหรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ

 

 

 

2.แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฏหมายหรือปฏิบัติน้องเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฏหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น

 

 

3.เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐ ยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน

 

 

 

 

รศ.สมชัย ยังระบุถึง กลไกการตรวจสอบองค์กรอิสระที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ 2550 คือ การเข้าชื่อของประชาชนเพื่อถอดถอนองค์กรอิสระตามมาตรา 164 ประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 ชื่อร้องต่อวุฒิสภา , การเข้าชื่อของส.ส.เพื่อถอดถอนองค์กรอิสระตามมาตรา 271 วรรคหนึ่งสส.ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร้องต่อวุฒิสภา , การเข้าชื่อของส.ว. เพื่อถอดถอนองค์กรอิสระตามมาตรา 271 วรรคสอง ส.ว.ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกวุฒิสภาร้องต่อวุฒิสภา และถอดถอนโดยวุฒิสภาส่งเรื่องให้ป.ป.ช.ไต่สวนวุฒิสภามีมติไม่น้อยกว่าสามในห้าถอดถอน

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube