fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

รัฐบาลเคาะ 3 เพื่อไทยเอา 2… เมื่อไหร่จะได้ประชามติแก้รธน.

นโยบายเรือธงที่ 2 ของเพื่อไทย คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่หาเสียงก็ประกาศชัด ถ้าเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะเดินหน้าประชาธิปไตย รัฐบาลใหม่จะลุยทำประชามติ ชวนทุกฝ่ายทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปิดฉากเครื่องมือสืบทอดอำนาจ และผ่านการทำงาน 4 เดือนของรัฐบาลเพื่อไทย ก็เดินหน้าได้จริงๆ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ตั้ง “ภูมิธรรม เวชยชัย” เป็นประธาน มีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนอีกกว่า 30 คน ร่วมกันศึกษาแนวทางทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

 

 

ตั้งกรอบเวลา ทำงาน 60 วัน ทำเสร็จตั้งแต่ปลายปีก่อน เคาะบทสรุป จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเสนอให้มีการจัดทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการถามประชาชนก่อน โดยยังไม่มีการเสนอร่างแก้ไขต่อรัฐสภาว่าสมควรจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขมาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภา และร่างได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อ ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ผ่านปีใหม่มาจะครบ 1 เดือนแล้ว ข้อสรุปดังกล่าวยังไม่เข้า ครม.

 

แต่พรรคเพื่อไทย นำโดยรองหัวหน้า “ชูศักดิ์ ศิรินิล” พร้อม ส.ส.กว่า 120 คน ร่วมกันลงชื่อเสนอประธานสภา ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นคู่ขนาน แต่มีความแตกต่าง เสนอแค่ทำประชามติ 2 ครั้ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลายคนคงเกิดคำถาม ว่ามันเกิดอะไรขึ้น การศึกษาของ คณะกรรมการ ที่ “เศรษฐา” ตั้งขึ้น มี “ภูมิธรรม” เป็นธาน พรรคเพื่อไทยไม่เชื่อถือหรือย่างไร แลัวจะเสียเวลามาทำไมตั้ง 4 เดือนกว่า ถ้าจะเอาแบบที่เพื่อไทยเสนอเข้าสภา

 

ดูจากคำชี้แจงของ “ชูศักดิ์” ยืนยันเพื่อไทยศึกษามานานแล้ว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ที่ระบุว่าเมื่อจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องถามประชาชนเสียก่อน ว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ การถามประชาชนก่อนยังมีความสับสนไม่ตรงกันว่าถามในช่วงเวลาใด ชุดของ”ภูมิธรรม” จึงตัดสินใจว่าก็ถามก่อนเลยโดยยังไม่มีญัตติ แต่คณะของเพื่อไทย ถ้าเราจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 บวกกับการจัดตั้ง ส.ส.ร.แล้ว

 

ให้รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ หลังจากจบวาระที่ 3 แล้ว จึงไปสอบถามประชาชน โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังไม่เกิด ก็ถือได้ว่าเราปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะเหลือทำประชามติแค่ 2 ครั้ง ซึ่งพรรคก้าวไกล ออกมาสนับสนุนแนวทางนี้แล้ว ดังนั้นการที่จะทำ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง นี่แหละจะเป็นปัญหาให้วิพากวิจารณ์ กันจนเสียเวลาอีกหรือไม่ เพราะถ้าครม.เห็นชอบข้อเสนอ ก็ต้องทำประชามติก่อน ประชาชนตอบมาว่าอย่างไร จึงค่อยดำเนินการ

 

แต่การที่ เพื่อไทยเสนอเข้าสภาไปก่อนแล้วแล้ว จะมีปัญหาหรือไม่ รศ.ดร.ยุทธพร อิสระชัย บอกกับ INN ว่า ไม่มีปัญหา และไม่มีใครถูกใครผิด มันขึ้นอยู่กับการตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งหมด และไม่น่าจะทำให้เกิดความสับสน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ทุกร่าง ทุกข้อเสนอจากคณะรัฐมนตรี จาก ส.ส.ในสภา หรือจากภาคประชาชนเข้าชื่อกัน 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล้วนจะต้องไปจบที่รัฐสภาทั้งสิ้น แต่ยังไม่มีคำตอบนะว่า เมื่อไหร่ ประชาชน จึงจะได้ทำประชามติ

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube