fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

มีลุ้น Ft ต่ำกว่า 5 บ. หายใจคล่องขึ้น

เอกชนมีลุ้นต้นทุนลง หลังจากตบเท้าเข้าหารือ ที่ประชุม กกพ. งวดหน้าค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่า FT มีโอกาสต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันที่ภาคเอกชนจ่ายอยู่ 5.33 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าที่อยู่ในระดับสูง

 

 

 

โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรม กกร. บอกว่า ที่ประชุมได้พิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

 

 

ซึ่ง IMF ประเมินว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.2 ในปีนี้จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 4.4 ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตได้ร้อยละ 2.9 เป็นผลมาจากภาคการผลิตและภาคบริการของจีนกลับมาขยายตัวสะท้อนจากการเดินทางท่องเที่ยวของชาวจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งมีผลต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้อาจมากถึง 26 ล้านคน

 

 

ในขณะที่ ค่าไฟฟ้า หลังจากได้มีการหารือร่วมกับคณะกรรมการ กกพ. แล้ว พบว่า มีปัจจัยหนุนที่จะทำให้ค่า FT ในรอบหน้าเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ปรับตัวลดลงได้ ต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันภาคเอกชนจ่ายค่า FT อยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย

 

 

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและราคาในต่างประเทศปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้การนำเข้ามีราคาถูกลง แต่จะอยู่ในระดับที่ภาคเอกชนคาดหวังไว้หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่กับการคำนวณในอัตราที่เหมาะสมของทุกฝ่ายต่อไป แต่ต่ำกว่า 5 บาทมีโอกาสเห็นอย่างแน่นอน

 

 

เมื่อต้นทุนดีขึ้นเศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัว ที่ประชุม กกร.จึงยังคงประมาณการ GDP ในปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.5 การส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 1.0-2.0 และเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.7-3.2 โดยยังคงเป็นตัวเลขประมาณการเดิมจากเดือนมกราคม เนื่องจากมองว่า แม้ปัจจัยที่มีผลกระทบจะลดลง แต่เศรษฐกิจโลกที่ก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอย ยังคงเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกของไทย มีโอกาสเติบโตต่ำกว่าประมาณการได้

 

 

และถือเป็นโจทย์ให้พรรคการเมือง ที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ได้คิดและแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะพยุงเศรษฐกิจของประเทศไม่ต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่ ทั้งต้นทุนค่าแรง ต้นทุนการเงิน ค่าไฟฟ้า พลังงาน ต้นทุนโลจิสติกส์รวมถึงราคาวัตถุดิบในการผลิต หากสูงขึ้นจนไม่สามารถรับไหวจะเดินหน้าอย่างไรคงต้องหาคำตอบไว้ล่วงหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube