fbpx
Home
|
อาชญากรรม

กทม.เร่งลดระดับน้ำในคูคลอง

Featured Image
กทม.เร่งลดระดับน้ำในคูคลอง ตรวจสอบต้นไม้ใหญ่เตรียมป้องกันผลกระทบจากพายุฤดูร้อน

 

 

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์จากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนน.ได้เร่งลดระดับน้ำในคูคลอง บ่อสูบน้ำ และแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จัดเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนเคลื่อนที่ (BEST) เข้าพื้นที่ขณะที่มีฝนเริ่มตก ขณะเดียวกันได้เร่งระบายน้ำบริเวณจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่จุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวัง และบริเวณอุโมงค์ทางลอดต่าง ๆ

 

 

พร้อมทั้งจัดเก็บขยะหน้าตะแกรง ช่องรับน้ำฝน ขยะหน้าตะแกรงหน้าสถานีสูบน้ำ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมขัง จัดเก็บขยะวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำ เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกรวดเร็ว

 

นอกจากนั้น ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ และบ่อสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองประจำสถานีสูบน้ำกรณีไฟฟ้าขัดข้อง เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ (โมบายยูนิต) รถเครน รถบรรทุกติดตั้งเครนยกไฮโดรลิก บอลลูนไลท์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อติดตั้งและตรวจสอบแก้ไขเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ การจัดเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอสำหรับเครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรกลที่ใช้งานในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม

 

 

อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังสภาพอากาศตามการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาและตรวจสอบติดตามกลุ่มฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก กทม.ช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดปัญหาต้นไม้ใหญ่หักโค่น ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่โค่นล้ม และปัญหาน้ำท่วมขัง

 

 

นายชัยวุฒิ เผยว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอล มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 2566 คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นอีกอีกเป็นพายุไซโคลน “โมคา” (MOCHA) ในวันที่ 11 พ.ค. 2566 แนวโน้มการเคลื่อนตัวจะขึ้นไปทางเหนือค่อนไปทางตะวันตกเข้าสู่บริเวณอ่าวเบงกอลในตอนกลาง และอ่าวเบงกอลในตอนบน

 

 

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ค. 2566 แม้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มีฝนต่อเนื่องในประเทศไทยตอนบน โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 2566 นอกจากนั้น คลื่นลมในทะเลอันดามันจะแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

สำหรับสภาพอากาศในวันที่ 14 พ.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ จากอิทธิพลทางอ้อมของพายุไซโคลน “โมคา” ซึ่งทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยยังมีกำลังแรง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะ ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ซึ่งมีโอกาสเกิดฝนประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนภาคอื่นๆรวมถึงก็ กทม. และปริมณฑล มีโอกาสเกิดฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการออกไปใช้สิทธิในวันติดตั้งได้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะติดตามลักษณะอากาศและเปิดให้บริการสอบถามสภาพอากาศที่สายด่วน 1182

 

 

นายชัยวุฒิ กล่าวอีกว่า ถึงสถานการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในปีนี้ว่า สถานการณ์ลานีญาที่ต่อเนื่องมาสามปีตั้งแต่กลางปี 2563 ได้สิ้นสุดลงแล้วในช่วงต้นปีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์แบบจำลองศูนย์ภูมิอากาศชั้นนำของโลกคาดว่าสภาวะเอลนีโญจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567

 

 

ซึ่งจะส่งผลให้สภาวะอากาศของประเทศไทยปี 2566 มีแนวโน้มที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปี 2565 ที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ส่วนแนวโน้มสภาวะอากาศปี 2567 อุณหภูมิเฉลี่ยจะยังคงสูงกว่าค่าปกติ (ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส) อาจจะใกล้เคียงกับปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่เกิด เอลนีโญ รุนแรง ปริมาตรผลตรวจของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 10 และมีโอกาสสูงที่จะเกิดความแห้งแรงได้

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube