fbpx
Home
|
ข่าว

“ชลน่าน” เชื่อ “ประยุทธ์” หน้าไม่บางชิงยุบสภาฯ

Featured Image
“ชลน่าน” เชื่อ “ประยุทธ์” หน้าไม่บางชิงยุบสภาฯ หาก ส.ส. คว่ำ พ.ร.ก.เลื่อน พ.ร.บ.อุ้มหายฯ พร้อมจับเกม ส.ส.รัฐบาล ซุ่มร้องศาลสกัดประชุมอังคารนี้

 

 

 

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรนัดประชุมเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

 

ในวันที่ 28 ก.พ. 66 ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว เพราะเป็นการออก พ.ร.ก. ที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตลอดจนละเมิดสิทธิประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ ซึ่งขาดการป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหาย ตลอดระยะเวลาที่สูญเสียไป อีก 7-8 เดือน โดยเฉพาะในช่วงเลือกตั้งอันตรายมาก

 

ขณะเดียวกันพรรคร่วมฝ่ายค้าน อยู่ระหว่างการสังเกตว่าเสียงข้างมากจะเห็นอย่างไร เพราะแม้พรรคร่วมฝ่ายค้านที่เป็นเสียงข้างน้อยจะไม่อนุมัติ แต่เสียงข้างมากอนุมัติ พ.ร.ก. ก็ยังบังคับใช้ได้ ดังนั้น พรรคร่วมฝ่ายค้านจึงเตรียมการสังเกตเสียงข้างมาก หากมีแนวโน้มจะผ่านการอนุมัติ พรรคร่วมฝ่ายค้านก็จะยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก. ดังกล่าว ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการอนุมัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

 

นพ.ชลน่าน เปิดเผยข้อสังเกตว่า ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล แอบทำคำร้องไว้อีกฉบับที่ชนกับคำร้องของพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วย จึงกำลังดูเกมตรงนี้ว่า ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล คิดอะไร หากคิดตรงกันกับ ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน ก็ไม่เป็นอะไร

 

ส่วนกรณีหาก พ.ร.ก. ไม่ผ่านการอนุมัติ ที่นำไปสู่ความรับผิดชอบของรัฐบาลในการลาออกนั้น จะเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีชิงยุบสภาฯ หรือไม่ นพ.ชลน่าน ตอบว่า เขาคงหน้าไม่บางพอ เพราะจริงอยู่ว่าการไม่อนุมัติ พ.ร.ก. เป็นเรื่องใหญ่ รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ในอดีตมีรัฐบาลลาออกเยอะมาก การแสดงความรับผิดชอบผ่านการลาออกหรือยุบสภาฯ

 

ก็ถือเป็นจังหวะเวลาช่วงเหมาะพอดี เขาอาจไปยุบสภาฯ ตามกำหนดวันที่ 15 มี.ค. 66 ได้ มันไม่จำเป็น และไม่มีผลอะไรเลยส่วนพ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวจะต้องเข้าสู่การประชุมของวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 จนต้องมีการเรียกประชุมสมัยวิสามัญด้วยใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน ระบุว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้เป็นอำนาจรัฐสภา

 

แต่ประชุมแยกกัน สมมติสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ แล้ววุฒิสภาอนุมัติ ต้องกลับให้สภาผู้แทนราษฎรยืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นจังหวะที่สภาฯ ปิด เพราะฉะนั้น ครม. ต้องขอให้รัฐสภาเปิดวิสามัญ เพื่อให้วุฒิสภาประชุมให้ได้ ถือเป็นหน้าที่ของ ครม. ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube