fbpx
Home
|
ข่าว

ครม.รับทราบ 4 มาตรการเร่งด่วน แก้ปัญหาอาวุธปืน-ยาเสพติด

Featured Image
ครม.รับทราบ 4 มาตรการเร่งด่วน แก้ปัญหาอาวุธปืน-ยาเสพติด โชว์ผลงานจับผู้ต้องหากระทำผิดอาวุธปืน-ระเบิดได้ 2.7 หมื่นราย กวาดล้าง ยาบ้า 12.29 ล้านเม็ด อายัดทรัพย์สินเครือข่ายยาเสพติด 11 ล้านบาท เดินหน้าปกป้องชุมชน

 

 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 18 ต.ค.65 ให้กระทรวงยุติธรรมรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดในภาพรวมเสนอต่อ ครม. ภายใน 90 วัน โดยสรุปผลการดำเนินการตามมาตรการฯ รวม 4 ประการ คือมาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เช่น เพิ่มเติมเอกสารใบรับรองแพทย์ ออกหนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือนายจ้าง และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขออนุญาต เป็นต้น

 

ด้านมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งการควบคุมสารเคมีที่นำไปใช้ผลิตยาเสพติด เช่น ระงับการส่งออก และชะลอการนำเข้าวัตถุอันตรายบางรายการชั่วคราว ยึดและอายัดวัตถุอันตราย ที่ใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด โดยอายัดสารโซเดียมไซยาไนด์ 220 ตัน หากนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสารตั้งต้นจะสามารถนำไปใช้ในการผลิตยาบ้า 4,840 ล้านเม็ด และการทำลายเครือข่ายนักค้ายาเสพติดและยึดอายัดทรัพย์สิน เช่น ดำเนินการสืบสวนและขยายผลเพื่อทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติด

 

 

โดยได้จัดทำรายงานข่าวสารยาเสพติดของเครือข่าย 739 ฉบับและรายงานเป้าหมายบุคคลในเครือข่าย 1,098 คน และสามารถอายัดทรัพย์สิน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 11,280 ล้านบาท (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.– 31 ธ.ค.65) และการติดตามจับกุมผู้มีหมายจับคดียาเสพติด สามารถดำเนินการเร่งรัดติดตามจับกุมผู้มีหมายจับคดียาเสพติดได้ 88 หมายจับ

 

 

โดยกระทรวงกลาโหมได้เพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้า-ส่งออกบริเวณชายแดน ทำให้สกัดกั้นจับกุมยาเสพติด ได้แก่ ยาบ้า 12.29 ล้านเม็ด เฮโรอีน 11 กิโลกรัม ยาไอซ์ 586,956.75 กรัม และยาอี 15,000 เม็ด (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. – 26 ธ.ค.65) และได้ปราบปรามยาเสพติดโดยในเดือนพ.ย.65 สามารถจับกุมตรวจยึดยาเสพติด ผู้ต้องหา 18 คน ยาบ้า 11.93 ล้านเม็ด ยาไอซ์ 435.1 กิโลกรัม และเคตามีน 9.9 กิโลกรัม เป็นต้น

 

และมาตรการด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด มีระบบบูรณาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย 30 จังหวัดในพื้นที่ต้นแบบเพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำและไม่ก่อความรุนแรง และเร่งรัดสำรวจศูนย์คัดกรองให้ครอบคลุมทุกตำบล โดยได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนศูนย์คัดกรองแล้ว จำนวน 9,473 แห่ง

 

 

รวมถึงเร่งรัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวแล้ว 659 ชุมชน และจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน 439 แห่ง รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของสถานฟื้นฟูผู้ติดยา และยื่นขึ้นทะเบียนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้ครอบคลุมทุกจังหวัดถึงระดับตำบล เป็นต้น

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube