fbpx
Home
|
ข่าว

กมธ.แรงงานร้องเรียนตรวจสอบ ม.33 เรารักกัน

Featured Image
กมธ.แรงงาน รับหนังสือมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน เรียกร้อง สอบคุณสมบัติสัญชาติไทยของผู้ได้รับสิทธิโครงการ “ม.33 เรารักกัน”

 

 

นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ปสุตา ชื้นขจร ผู้แทนมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เพื่อขอให้พิจารณาตรวจสอบเงื่อนไขคุณสมบัติสัญชาติไทยของผู้ได้รับสิทธิโครงการ  “ม.33 เรารักกัน”  ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาลที่เสนอผ่านกระทรวงแรงงาน ดำเนินแผนงาน หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชย ให้แก่ภาคประชาชน ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2563

 

ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่ 2 งบประมาณรวม จำนวน 31,700 ล้านบาท กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จำนวนประมาณ 9.7 ล้านคน โดยจ่ายเงินจำนวนคนละ 4,000 บาท โดยเปิดให้ผู้ประกันตนลงทะเบียนผ่านช่องทาง www.ม33เรารักกัน.com ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. ถึงวันที่ 7 มี.ค. 64 โครงการดังกล่าวได้มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าว จะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น แม้ต่อมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายโครงการระยะเวลาในการจ่ายเงินเยียวยาและเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับสิทธิได้

 

จนถึง วันที่ 30 มิ.ย. 64 แต่ยังคงไว้ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว จึงมีผลให้ “บุคคลที่ไม่ได้ มีสัญชาติไทย” ไม่ได้รับสิทธิในเงินช่วยเหลือดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เช่นเดียวกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ชอบธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้

 

1. ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 27 วรรคสาม

2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งประกอบด้วยแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติเป็นผู้ที่ทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

3. ขัดต่อมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

4. ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อันเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ที่มีพันธะหน้าที่ว่าจะไม่กระทำหรือมีการปฏิบัติใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

 

อย่างไรก็ตาม มสพ. ขอเสนอให้คณะ กมธ.การแรงงาน พิจารณาตรวจสอบและผลักดันนโยบายที่สามารถสนับสนุนให้เกิดความคุ้มครองทางสังคม และการเยียวยาผลกระทบ โดยไม่กีดกันเงื่อนไขทางเชื่อชาติและสัญชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube