fbpx
Home
|
อาชญากรรม

กรมคุมประพฤติ สรุปคดีเมาแล้วขับสงกรานต์67 เผยกรุงเทพฯครองแชมป์

Featured Image

 

 

 

 

กรมคุมประพฤติ แถลงสรุปยอดสงกรานต์67 พบกว่า2หมื่นราย พร้อมเพิ่มมาตรการผู้กระทำผิดซ้ำ

 

 

 

 

วันนี้ (18 เม.ย. 67) ที่กรมคุมประพฤติ นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ ได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ แถลงสรุปปิดยอดสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติในวันสุดท้ายของ 7 วันควบคุมเข้มข้นสงกรานต์ 2567 วันที่ 17 เม.ย. 67

 

พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ได้เปิดเผยว่า จากคดีทั้งหมดที่มีการรายงานตัวที่กรมคุมประพฤติแล้ว มีจำนวน 7,388 คดี แบ่งเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา 7,130 คดี, คดีขับรถประมาท 3 คดี และคดีขับเสพ 255 คดี โดยจังหวัดที่มีคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 664 คดี อุบลราชธานีจำนวน 550 คดี และเชียงใหม่ จำนวน 389 คดี

 

โดยเมื่อเปรียบเทียบจากสถิติในปี พ.ศ. 2566 พบว่า มีจำนวนลดลง 1,445 คดี คิดเป็นร้อยละ 16.85 นอกจากนี้จากข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีผู้ที่ถูกดำเนินคดีเมาแล้วขับทั้งหมดกว่า 21,760 ราย ยังคงมีการตกค้างของการเข้ามารายงานตัวกว่า 14,000 ราย และสำหรับในช่วง 7 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

 

โดยให้บริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 882 จุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ถูกคุมความประพฤติ และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 30,215 คน

 

ทั้งนี้ จากข้อเสนอแนะของอนุกรรมการของผู้กระทำความผิดซ้ำ ทางกรมคุมประพฤติจะมีการเก็บข้อมูลไว้เพื่อนำไปพัฒนาระบบข้อมูล รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล หรือกฎหมาย PDPA ในช่วงเทศกาลถัดไป หากทางตำรวจในพื้นที่จับกุมผู้กระทำผิดแล้ว เบื้องต้นสามารถโทรสอบถามข้อมูลจากทางกรมคุมประพฤติในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ

 

โดยหากพบว่ามีการกระทำผิดซ้ำอีก ทางกรมคุมประพฤติจะต้องมีการทำรายงานเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และส่งฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งตัดสินโทษต่อไป เบื้องต้นจากข้อมูลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบผู้กระทำผิดซ้ำกว่า 96 ราย (ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ)

 

พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการคุมประพฤติที่มีต่อผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการ ฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา

 

โดยให้เข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับมาตรการทางกฎหมาย ผู้กระทำผิดจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม ที่ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเมาแล้วขับ เช่น การดูแลเหยื่ออุบัติเหตุในโรงพยาบาล และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน

 

ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อตนเองและครอบครัว รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับสังคม กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กรมคุมประพฤติจะรายงานกลับไปยังศาล เพื่อนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบังคับใช้ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube