fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

รัฐบาลกู้ 5 แสนล้าน “วิกฤต” คืออะไร

 

 

 

เกือบครบ 5 เดือนเต็มการเป็นนายกรัฐมนตรีของ”เศรษฐา ทวีสิน”แล้ว 1 ในนโยบายโดนใจ ที่ประชาชนรอคอยคือ “ดิจิทัล วอลเลต” แจก 1 หมื่น ที่มีความชัดเจนว่า ใครจะได้

 

 

 

และเงินที่เอามาแจก มาจากการกู้ โดยออกเป็น พรบ. จำนวน 5 แสนล้าน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าไปมากกว่านี้ มีแต่เสียงวิพากษ์ วิจารณ์ ตอบโต้กันไปมา ระหว่างคนในรัฐบาล กับฝ่ายค้าน รวมถึงนักวิชาการในหลายๆความเห็น โดยเฉพาะประเด็น เศรษฐกิจไทย เข้าขั้นวิกฤต ตามที่รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี พยายามชี้แจงหรือไม่ ก่อนจะมีความเห็นในทางกฏหมายของ กฤษฏีกาออกมา ว่าต้องยึดตาม พรบ.วินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด คำว่า “วิกฤต” ก็ยิ่งถูกพูดถึง กันกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ในคนละทิศคนละทาง ก่อนที่ จะมีเอกสารความเห็นของ ปปช.ที่เตรียมส่งต่อมายังรัฐบาลจะอ้างรายงานทางเศรษฐกิจของหลายหน่วยงาน อาทิ แบงก์ชาติ , สภาพัฒน์ฯ และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่เข้าข่าย”วิกฤต” และไม่เห็นสัญญาณ “วิกฤต”แต่อย่างใด ก่อนพรรคเพื่อไทย ออกมาตอบโต้ว่า “วิกฤต” หรือไม่ ขึ้นกับหลักเกณฑ์การคิด ที่ต้องสอดคล้องกับการบริหาร ก็ยิ่งไปกันใหญ่

 

คำว่า “วิกฤต” คงอยู่ในประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์ กันต่อไปอีกยาวนาน จนกว่าโครงการนี้ จะเสร็จสิ้น และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราคงต้องศึกษา ความหมายของคำนี้เช่นกัน
เพื่อจะได้เข้าใจไปพร้อมๆกับรัฐบาล และบรรดานักวิเคราะห์ นักวิจารณ์ทั้งหลาย ว่า เศรษฐกิจไทย วิกฤต จนถึงขั้นกู้เงินมาแจกดิจิทัลวอลเลตหรือไม่ โดย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
นิยาม คำว่า วิกฤต ว่า เป็นวิเศษณ์ หมายถึง อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย อยู่ในขั้นอันตราย, ร้ายแรง โดยที่ผ่านมา “เศรษฐา” ย้ำว่าประเทศไทยมีวิกฤตเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องกู้ แต่ คำว่า “วิกฤต” ของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของประเทศ อย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ จะพิจารณาบนพื้นฐานจากการประมวลข้อมูลของธนาคารโลก หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ว่าภาวะวิกฤต ต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจโลก สามารถสรุปได้ 5 ประเภท ได้แก่

 

1.วิกฤตภาคการเงินและสถาบันการเงินที่มีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนสูงมาก
2.วิกฤตดุลการชำระเงิน มีเงินทุนไหลออกรุนแรง ค่าเงินมีความผันผวนรุนแรง
3.วิกฤตการคลัง
4.วิกฤตเงินเฟ้อ ซึ่งมีภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นรวดเร็วเป็นเวลานาน
และ 5 วิกฤตที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด

 

 

ส่วน สภาพัฒน์ ระบุ การกำหนดนิยามคำว่าวิกฤตเศรษฐกิจ จะต้องพิจารณาหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อัตราการถดถอยทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งต้องพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดและต้องหารือกับหน่วยงานทางเศรษฐกิจทุกหน่วยงานเพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน และปิดท้ายที่ กระทรวงคลัง ให้นิยามว่า วิกฤตเศรษฐกิจนั้น จะต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นวิกฤตเศรษฐกิจอะไร เพราะวิกฤตเศรษฐกิจมีหลายกรณีแต่ถ้าในมุมมองของกระทรวงการคลัง ปัจจัยที่จะแสดงให้เห็นถึงวิกฤตทางการคลัง คือ จำนวนเงินคงคลังที่เหลืออยู่ ความสามารถในการหารายได้เพียงพอกับรายจ่ายที่รัฐบาลต้องใช้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นคำตอบว่า ตอนนี้ประเทศไทย “วิกฤต”ทางเศรษฐกิจหรือไม่ แล้วนั่นเอง

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube