fbpx
Home
|
ข่าว

“นิกร”เชิญ7กลุ่มนศ.สะท้อนความเห็นทำประชามติแก้รธน.

Featured Image
อนุฯรับฟัง เชิญ 7 กลุ่มนศ.สะท้อนความเห็น ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ นิกร หวั่นตกม้าตายออกมาไม่ครบ ตามเงื่อนไข ชี้อาจต้องแก้กฎหมายประชามติ ด้าน กกต. ประเมินใช้งบ 3,250 ล้าน หากใช้แอปต้องใช้หลัก10,000 ล้าน

 

 

 

 

นายนิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เปิดเผยว่าวันนี้ได้เชิญตัวแทนนิสิต นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ 7 กลุ่ม ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อมารับฟังความคิดเห็น โดยก่อนหน้านี้ได้ให้ คำถามเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำมติ ซึ่งเป็นคำถามชุดเดียวกับที่จะให้สมาชิกรัฐสภา ในช่วงเปิดสมัยประชุม ก่อนสรุปเข้า สู่ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 ช่วงปลายเดือนธันวาคมและจะนำไปสอบถามประชาชน

 

 

 

 

 

โดยในคำถามระบุว่าเห็นสมควรจะจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ /ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ2560 ทั้งฉบับ คงหมวด1หมวด2 หรือเห็นว่าไม่สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีนี้จะถามว่าสมควรจะแก้ไขรายมาตรา หรือไม่ต้องแก้เลย. และถามถึงผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างนิติบัญญัติ ตุลาการและฝ่ายบริหาร มีปัญหาหรือไม่อย่างไร หรือวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ยาก ต้นเหตุที่นำไปสู่การแก้ไข หรือให้ระบุ ความเห็นอื่น รวมถึงคำถามเกี่ยวกับการตั้งส.ส.ร. หรือองค์กรอื่นขึ้นมาแก้ไข

 

 

 

 

 

นายนิกร ยังระบุถึงคำถามประชามติจะถาม ก่อนดำเนินการ ว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อสอบถามว่าจะอนุญาตให้ทำหรือไม่ ส่วนการทำครั้งที่ 2 กรณีแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เพื่อเปิดช่องให้มีส.ส.ร. และหลังการแก้ไขจะต้องถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับรัฐธรรมนูญก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยจะนำคำถามนี้ไปสอบถามสมาชิกรัฐสภาในสมัยเปิดประชุม

 

 

 

 

 

นายนิกร ยังกล่าวถึงการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ที่ได้เชิญเลขาธิการกกต. ชี้แจงค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ที่จะใช้ในการจัดทำประชามติ ประมาณ 3,250 ล้านบาท ส่วนการทำประชามติด้วยวิธีอื่นใด เช่นการ ใช้แอปพลิเคชั่นนั้น กกต. คาดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุม ได้สอบถามว่าหากใช้วิธีการดังกล่าวจะเสถียรหรือถูก แฮกข้อมูลได้หรือไม่ ซึ่ง กกต. จะเสนอข้อมูลกลับมาอีกครั้ง

 

 

 

 

 

ส่วนการจัดทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งอื่นนั้น นายนิกร กล่าวว่า กกต.ระบุว่าจะต้องใช้กฎหมาย 3 ฉบับ และการทำครั้งแรกอาจไม่ทัน ต้องรอจนถึงเดือนพ.ย.67 เพราะต้องรอแก้ไขกฎหมายประชามติก่อน แต่ถ้า เป็นการทำประชามติครั้งที่ 2 น่าจะสามารถทำพร้อมกับการเลือกตั้งอื่นได้ แต่ยอมรับว่ามีข้อกังวล เกี่ยวกับกฎหมายประชามติ ที่กำหนดว่าหากจะทำประชามติ ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น คือ ประชาชนต้องออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งจะเท่ากับ 25 ล้านเสียง และถ้าไม่ตรงกับการเลือกตั้งสส.คนอาจจะออกมาใช้สิทธิ์น้อย มีโอกาสที่จะเดี้ยงประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ไม่ครบ นอกจากนี้เสียงเห็นชอบต้องเกินครึ่งหนึ่งของ ผู้ที่มาใช้สิทธิ์ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะไม่มีหัวคะแนน ไม่มีคนเหนี่ยวนำออกมาใช้สิทธิ์

 

 

 

 

 

นายนิกร ยังเห็นว่าการทำประชามติครั้งแรก ประชาชนอาจตื่นตัวออกมาเพราะมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแต่ การทำประชามติครั้งที่ 2 ที่มีการแก้ไขมาตรา 256 ที่หากตรงกับการ เลือกตั้งนายก อบจ. ซึ่งจะเกิดขึ้นในต้นปี68 อาจเป็นตัวเร่งประชาชนได้แต่ก็เกรงว่าจะตกม้าตายตรงนี้ ตรงที่ประชาชนออกมาไม่ครบ ตามเงื่อนไข ดังนั้นเรื่องนี้ เรากังวล จึงมีข้อสรุปว่าหากมีปัญหาจริง อาจต้องแก้ไขกฎหมายประชามติ เกี่ยวกับเงื่อนไขเกณฑ์ที่เห็นชอบ

 

 

 

 

แต่คณะอนุฯรับฟังความเห็น จะไม่รอแต่จะทำตามกฎหมายที่มีอยู่และให้เป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการแก้ไข และเชื่อว่าการแก้ไข เพียงไม่กี่มาตรา จะใช้เวลาไม่นาน น่าจะทันกัน โดยคาดว่าการทำประชามติครั้งแรกน่าจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งวันเวลาในการทำประชามติ จะไม่น้อยกว่า 90 วันแล้วไม่เกิน 120 วัน หรือประมาณ 3 เดือนครึ่ง เพราะต้องให้เวลากกต.ไปดำเนินการทำความเข้าใจกับประชาชน

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube