fbpx
Home
|
ข่าว

แอมเนสตี้ ฉวยโอกาสเอเปคยื่นไทยยุติการนองเลือดเมียนมา

Featured Image
แอมเนสตี้ ประเทศไทยยื่นจดหมายถึงรัฐบาลไทย ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปก เรียกร้อง “ยุติการนองเลือดในเมียนมา”

 

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยยื่นหนังสือและข้อเรียกร้อง “ยุติการนองเลือดในเมียนมา” ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ประจำปี 2022 ควรมีบทบาทสำคัญในการร่วมหารือเพื่อยุติการนองเลือดในประเทศเมียนมาและแสดงพลังในการยืนหยัดเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมา โดยมีตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการรับมอบหนังสือและข้อเรียกร้อง

 

โดยนางสาวปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นำ 2,129 รายชื่อของประชาชนในประเทศไทยที่ร่วมเรียกร้องผ่านแคมเปญออนไลน์บนเว็บไซต์ Change.org เพื่อแสดงเจตจำนง “ยุติการนองเลือดในเมียนมา” ยื่นหนังสือผ่านไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สำเนาถึง นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ประจำปี 2022 (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ควรมีบทบาทสำคัญในการร่วมหารือเพื่อยุติการนองเลือดในประเทศเมียนมาและแสดงพลังในการยืนหยัดเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมา

 

ทั้งนี้ ทางการไทยในฐานะรัฐภาคีอาเซียนและในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ต้องแสดงท่าทีอย่างเร่งด่วนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเมียนมา ทั้งการการสนับสนุนให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งการไม่บังคับส่งกลับผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยที่หลบหนีมาจากความรุนแรง และต้องให้การประกันว่าภาคธุรกิจหรือรัฐวิสาหกิจของไทยจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา และหน่วยงานในเครือในฐานะผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และต้องเรียกร้องให้กองทัพเมียนมารับฟังเสียงจากประชาชนชาวเมียนมาซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักด้วย”

 

อย่างไรก็ตาม ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ดังต่อไปนี้

 

1.รัฐบาลไทยต้องใช้วิธีการทุกอย่างที่เป็นไปได้ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างชายแดน

2.ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน กลุ่มพหุภาคี และองค์การระหว่างประเทศเช่นหน่วยงานในสหประชาชาติเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและด้านมนุษยธรรมในเมียนมา

3.รับผู้ขอลี้ภัยและประกันการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย รวมทั้ง ละเว้นจากการเนรเทศหรือการส่งกลับของผู้ขอลี้ภัยชาวเมียนมา และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขอลี้ภัยและหยุดการดำเนินคดีกับพวกเขาระหว่างพำนักในประเทศไทย

4.หน่วยงานของรัฐต้องออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎกระทรวงอย่างเป็นทางการแก่ผู้ประกอบการธุรกิจและรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบของบริษัทอย่างเต็มที่ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กองทัพเมียนมาและหน่วยงานในเครือในฐานะผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube