fbpx
Home
|
ข่าว

สภาเตรียมพิจารณา พรบ.งบฯ 66 เป็นวันที่ 2

Featured Image
สภาเตรียมพิจารณา พรบ.งบฯวันที่ 2 หลังจากวันแรก ใช้เวลาไป 14 ชั่วโมง ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย ไม่ขอรับหลักการวารระแรก

 

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันแรก นั้น นายสุชาติ ตันเจริญรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมได้สั่งพักการประชุม ภายหลังจากที่ได้มีผู้อภิปรายครบถ้วนแล้วตามเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยวันแรกได้เปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 09.45 น. วันที่ 31 พ.ค. จนถึงเวลา 23.11 น. โดยได้ใช้เวลาการประชุมประมาณ 14 ชม. พร้อมนัดประชุมใหม่ต่อวันนี้ ( 1 มิ.ย.) ในเวลา 09.00 น.

 

ภาพรวมการอภิปรายวันแรก เป็นไปด้วยความเรียบร้อบ โดยสมาชิกฯฝ่ายรัฐบาล อภิปรายสนับสนุน พร้อม ให้ข้อคิดเห็น และข้อสังเกต ที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเหมาะสมตรงกับสถานการณ์ เหมาะกับแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ในปีนี้มีการจัดสรรงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วร้อยละ 2.74 จึงเหมาะสมกับสภาวะเงินเฟ้อ แต่ความโชคไม่ดีของรัฐบาลชุดนี้ คือ การระบาดของโรคโควิด-19 ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน แต่รัฐบาลยังมีคะแนนความสุจริต และทำงานให้บ้านเมืองมากกว่าการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรแต่ถนนในต่างจังหวัด ยังคงมีการปรับปรุงดีขึ้น แสดงให้เห็นว่า ประเทศมีการเจริญเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากประชาชนย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเยอะ

 

อย่างไรก็ตาม งบประมาณยังมีข้อท้วงติงบางประการ คือ การให้ความเจริญกระจุกอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นหลักการพัฒนาประเทศที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น รัฐบาลต้องอัดงบประมาณไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และท้องถิ่นเป็นส่วนสร้างรายได้ให้กับประเทศ

 

ขณะสมาชิกฯ ฝ่ายค้านอภิปรายไม่เห็นด้วยและไม่ขอรับหลักการวารระแรก เนื่องจากเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของประเทศ มีการจัดงบประมาณที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่คำนึงถึงประชาชน ไม่มีความยุติธรรมในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณที่ควรจัดสรรกลับไม่ได้รับการจัดสรร แต่นำงบประมาณไปจัดสรรเพิ่มเติมในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนประเทศ งบกลางสำหรับเยียวยาโควิด-19 ถูกตัดทิ้ง ทั้งที่ประเทศยังไม่ฟื้นตัว การจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชน รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญต่อสวัสดิการของประชาชน ไม่กระจายงบประมาณ ถือเป็นการจัดงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า ซ้ำซ้อน ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ แต่กลับสร้างความเหลื่อมล้ำให้เพิ่มมากขึ้น สุดท้ายแล้วประชาชนจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube