fbpx
Home
|
ข่าว

“พิธา”พร้อมตั้งคณะทำงาน Bangkok Transition ลุยปัญหา

Featured Image
“พิธา” ชื่นมื่นหารือ “ชัชชาติ” ชี้ ปัญหากทม. หลายส่วนต้องประสานงานร่วมกับรบ. พร้อมตั้งคณะทำงาน Bangkok Transition ลุยปัญหา

 

 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า) สืบเนื่องจากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยว่าที่ส.ส. พรรคก้าวไกลทั้ง 32 คน ประชุมหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในประเด็นความร่วมมือกันในการพัฒนากรุงเทพฯ โดยนายพิธาได้แถลงภายหลังเสร็จสิ้นการหารือไว้ว่า

 

 

ขอบคุณท่านผู้ว่าฯ ที่อุตส่าห์โฆษณาพรรคก้าวไกล จะก้าวให้ไกลต้องก้าวด้วยกัน เป็นสิ่งที่พรรคก้าวไกลคิดมาโดยตลอด เป็นการทำงานอย่างไร้รอยต่อ ปัญหาหลายๆ เนื่องในกทม. ทั้งปัญหาหาเก่าที่คาราคาซังมานาน หรือเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งเป็นความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร้รอยต่อตั้งแต่ระดับรัฐบาล นายกรัฐมนตรี มาที่สถาผู้แทนราษฎร มาที่ผู้ว่ากทม.

 

 

และมาที่สภากทม. ตนคิดว่าการแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัด ทั้งงบประมาณ เรื่องกฎหมาย หรือการประสานงานก็จะทำให้กทม. ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น วันนี้จึงมารับข้อเสนอจากผู้ว่าฯ 21 ข้อ ที่ท่านทำคนเดียวไม่ได้ต้องประสานงานกับเรา ที่จะให้เราไม่ว่าจะว่าที่ส.ส.ทั้ง 32 คนในกทม. ในการผ่านกฎหมายให้ผู้ว่าฯ ทำงาน ยกตัวอย่าง

 

 

1. ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกทม. ส่วนใหญ่มาจากการเดินทางของรถ ถ้าต่ำกว่า 4 ล้อ กทม. มีอำนาจตรวจ แต่ถ้ามากว่า 4 ล้อเป็นอำนาจของกระทรวงอื่น

 

 

2. การทำงานแบบไร้รอยต่อ Seamless Bangkok จะสามารถแก้ปัญหาให้กทม. ได้ขนาดไหน ขณะเดียวกัน ตนได้เรียนผู้ว่าฯ ถึงกฎหมาย 45 ฉบับ ที่พรรคก้าวไกลต้องการนำเสนอ มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในกทม.เช่นกัน นั่นคือการทำพ.ร.บ.กทม. ในการเลือกตั้งผู้ว่าเขตก็ได้นำเสนอและท่านผู้ว่าก็ได้รับทราบไว้

 

 

3. การแต่งตั้งคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านในการทำงานระหว่างกทม. และพรรคก้าวไกล Bangkok Transition Team โดยพรรคก้าวไกลเสนอนายพิจารณ์ เชาว์พัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค เป็นประธาน ทุกท่านที่ยืนในที่นี้ คือส่วนประกอบของคณะกรรมการชุดนี้ ขณะที่กทม. ได้ส่งนายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ มาเป็นประธานจากฝั่งกทม.

 

โดยจะทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและเป็นรูปธรรม และทำให้การประชุมวันนี้ไม่ใช่แค่เสร็จแล้วเลิกกันไป แต่จะกำหนดประเด็นพิจารณาและสามารถมาประชุมครั้งที่สองที่สาม ได้อย่างมีเนื้อมีหนัง เพื่อประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพของชาวกทม.

 

สำหรับข้อเสนอ 21 ข้อจากกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

1.การใช้ที่ดินของหน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชน

2.ร่วมผลักดันโครงการตามวาระแห่งชาติเรื่อง ฝุ่น PM2.5

3.ทบทวน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4.ร่วมมือกับรัฐในการแก้ไขปัญหาจราจร

5.ศึกษาแผนระยะยาวในการป้องกันน้ำทะเลขึ้นสูง เนื่องจากสภาวะโลกร้อน

6.หาแนวทางในการจัดสรรงบประมาณให้สะท้อนกับความเป็นจริง

7.นำสายสื่อสารลงดิน โดย กสทช กทม กฟน และ ผู้ประกอบการ

8.หาข้อสรุปร่วมกันสำหรับโครงการรถไฟฟ้า

9.สนับสนุนการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง
ค่าโดยสารร่วม รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ ให้เป็นระบบเดียว

10.ร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง

11.พัฒนา Open Bangkok โดยการสนับสนุนข้อมูลจากรัฐ

12.ส่งเสริมการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเมือง

13.ปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ

14.แก้ พรบ. กทม ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

15.เร่งรัดโครงการค้างอยู่ที่ต้องอาศัยเงินจากรัฐบาล

16.ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

17.ส่งเสริมกลไกระบบสาธารณสุขปฐมภูมิ และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโรงพยาบาล Bangkok Health Zones

18.ยกระดับระบบการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัยและการบริหารเรื่องฉุกเฉินตั้งแต่การเผชิญเหตุไปจนถึงการชดเชยค่าเสียหาย

19.ทบทวนอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการจัดการบุคลากรภาครัฐ
โดยเฉพาะงานด้านสาธารณสุขและสาธารณภัย

20.ทบทวนแนวทางการจัดทำความร่วมมือบ้านพี่เมืองน้องของ
เมืองให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้คล่องตัวมากขึ้น

21.ยกระดับการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

เมื่อผู้สืาอข่าวถามว่าใน 21 ข้อ กทม. มีวาระเร่งด่วนอะไรที่จะเสนอให้รบ.ใหม่ดำเนินการ นายพิธากล่าวว่า ตนได้คุยกับนายชัชชาติเรียบร้อยแล้ว อย่างที่ 1 คือฤดูฝนจะเข้ามา คงเป็นเรื่องของการบริหารน้ำท่วม เขื่อน การจัดการน้ำทะเลหนุน และ 2 คือเรื่องคมนาคม ปัญหารถติด ที่เราจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งนายศุภเชษฐ์ มีไอเดียในการใช้เทคโนโลยี ที่ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้วที่เขตทวีวัฒนา โดยส.ก.ของพรรคก้าวไกล เพื่อที่จะให้มีเส้นเลือดฝอยส่งไปสู่เส้นเลือดใหญ่ และการเดินทางไร้รอยต่อก็จะลดการใช้ยานภาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น 3 คือปัญหา pm 2.5 แม้จะยังไม่มาเร็วๆ นี้ แต่การทำงานเป็นเชิงมหภาค หลายเรื่องอาจจะเกิดในกทม. เช่นการก่อสร้างคมนาคม บางเรื่องอาจจะมาจากประเทศเพื่อนบ้าน บางเรื่องเป็นระดับประเทศ บางเรื่องเป็นระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นอย่างกทม. 3 ชั้นนี้จึงต้องมีกฎหมายอย่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด การทำงานของกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และการประสานงานภายในพื้นที่ระหว่างกระทรวงคมนาคมและกทม. นี่คือแนวทางในการทำงาน

เมื่อถามว่านายพิธาคิดว่าจะแก้ปหรถติดในกทม.ได้มากน้อยแค่ไหน นายพิธากล่าวว่า มีความตั้งใจจะบรรเทาให้ได้มากที่สุดในการนำเทคโนโลยีมาใช้ การเดินทางที่มีรอยต่อเยอะอย่างการมช้รถไฟ้าที่ต้องไปต่อแถวเอาใหม่ เราต้องการที่จะให้มีตั๋วใบเดียวให้ได้ในราคาย่อมเยา การมีรถเมล์ไฟฟ้าที่สะดวกสะอาดมากขึ้น ทั้งหมดนี้เรามั่นใจว่า รถเมล์คันหนึ่งบรรทุกได้ 20 คน กับ 20 คัน ถ้าทำได้ก็ได้สองเด้ง คือลดการจราจรและลดการใช้พลังงานที่เป็นปัญหา ถ้าจะทำแซนด์บ็อกซ์ในเรื่องนี้ กทม. เป็นพื้นที่สำคัญที่สุด แต่ปริมณฑลจะเป็นแนวร่วมที่เราเรียกว่า กรุงเทพพลัส จึงต้องทำงานในรอบนอกด้วย

เมื่อถามว่าที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยทำตั๋วร่วมได้สำเร็จ นายชัชชาติมั่นใจว่าจะได้หรือไม่ นายพิธากล่าวว่า ตนมอบหมายให้นายสุรเชษฐ์ ปวีณวงศ์วุฒิ ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เป็นผู้ดำเนินการ เพราะเขาเป็นผู้ที่มีโมเดลคิดมาหลายอัน ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ราคาที่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกประชาชน

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube