fbpx
Home
|
ข่าว

นายกฯ เชื่อมั่นไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

Featured Image
นายกฯ เชื่อมั่นไทยพร้อมเดินหน้าตามเป้าหมาย ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ของภูมิภาค

 

 

 

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรับทราบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ โดยในปี 2568 วางแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เป็นจำนวน 250,000 คันต่อปี ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2573 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท

 

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมยานยนต์ไทย และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า(EV) และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ โดยตั้งเป้าให้ปี 2568 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้จำนวน 250,000 ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 10% ของจำนวนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด

 

ในประเทศ และในปี 2573จะเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น 750,000 คันต่อปี หรือ 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 2,500,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) 375,000 คันรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicle: HEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) 375,000 คัน ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับ GDP ของประเทศไทย เป็นจำนวนเงินถึง 200,000 ล้านบาท และเพิ่มอัตราการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ถึง 30,000 อัตราต่อปี

 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลได้พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าตลอดจน ออกมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือแพคเกจรถยนต์ EV มาตรการลดภาษี EV ปี 2565 – 2568 ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมการดำเนินนโยบายของรัฐบาล

 

โดยรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เคยออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิต รถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ปี 2563 ได้แก่ กรณีที่มีขนาดการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม กรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท

 

 

การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิตจริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น

 

 

โดยทั้งหมดนี้ ทำเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการลงทุนใน อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ที่มีแนวโน้ม เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต ซึ่งจะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้กับ ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในส่วนของอุปสงค์ในประเทศ อัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเภทที่คนนิยมใช้ ได้แก่ Battery Electric Vehicle (BEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก

 

โดยใน 10 เดือนแรกของปี 2565 มียอดการจดทะเบียนรถ BEV ประมาณ 15,423 คัน และคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมียอดการใช้รถ BEV เพิ่มขึ้นกว่า 50,000 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากการที่ BOI พิจารณาการอนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 26 โครงการจาก 17 บริษัท

 

 

“นายกรัฐมนตรี สนับสนุนการผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ ในภูมิภาค ถือเป็นโอกาสแสดงศักยภาพ และเพิ่มสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ รวมทั้งเชื่อว่าการแนวคิด ด้านการผลักดันการใช้รถไฟฟ้าในประเทศ ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการเกิดมลพิษ และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจตามโมเดล BCG เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคู่กับความยั่งยืนอย่างสมดุล”

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube