fbpx
Home
|
ทั่วไป

ทำความรู้จักพายุหมุนเขตร้อนส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

Featured Image

          วันนี้จะมาสรุปเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน ลักษณะสำคัญรวมถึงผลกระทบที่พายุหมุนเขตร้อนแต่ละประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดขึ้นมาได้ 

รู้จักพายุและประเภทพายุกันก่อน

พายุ หมายถึงภัยที่เกิดจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาหารบ้านเรือน ต้นไม้ สิ่งก่อสร้างต่างๆ 

พายุ เกิดจากพื้นที่ที่อากาศบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก อุณหภูมิที่สูงกว่าจะลอยตัวขึ้นด้านบน อุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะมาอยู่ด้านล่างทำให้เกิดการแทนที่ จนเกิดการหมุนของอากาศขึ้นมา   

โดยประเภทของพายุมีหลักๆ 3 ประเภทได้แก่ 

1.พายุฝนฟ้าคะนอง 

2.พายุหมุนเขตร้อน พายุที่เราจะมาอธิบายกันในวันนี้ 

3.พายุทอร์นาโด 

พายุหมุนเขตร้อน

สรุปง่ายๆ เรื่องพายุหมุนเขตร้อน 

  • เป็นพายุที่มักเกิดในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร 
  • มักเกิดบริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเชียส

โดยใช้ความเร็วลมสูงสุดมาแบ่งเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรง 

  • พายุดีเปรสชั่น(DEPRESSION) ความเร็วลมไม่เกิน 34 นอต(63 กม./ชม.) มักทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองหรือฝนตกหนัก ไทยมักเจอพายุประเภทนี้ 
  • พายุโซนร้อน(TROPICAL STORM)  ความเร็วลม 34 – 64 นอต (63 – 118 กม./ซม.) มีโอกาสทำให้เกิดฝนตกหนักจนนำไปสู่น้ำท่วม ลมมีกำลังแรงที่จะทำลายบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงได้ 
  • ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน (TYPHOON OR HURRICANE) ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป) ลมมีกำลังแรง ก่อความเสียหายต่อบ้าน ต้นไม้ อาคารต่างๆ เสาไฟฟ้า ไร่นาต่างๆ 

ชื่ออื่นๆ ของพายุหมุนเขตร้อน 

          พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเรียกอื่นๆ ตามบริเวณที่เกิด เช่น ไต้ฝุ่น ใช้เรียกพายุที่เกิดทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ,ไซโคลน เกิดในอ่าวเบงกอล ทะเลอาราเบียน ในมหาสมุทรอินเดีย ,เฮอร์ริเคน พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก เหนือทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอขอบคุณข้อมูล

กรมอุตุนิยมวิทยา 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube