fbpx
Home
|
ทั่วไป

ค่าฝุ่น PM 2.5 เขตบึงกุ่มสูงสุดในกทม.

Featured Image
ค่าฝุ่น pm 2.5 ในกทม.เกินค่ามาตรฐาน 70 พื้นที่ สูงสุดเขตบึงกุ่ม 96 มคก./ลบ.ม.

 

 

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 9 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 56-99 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 69.1 มคก./ลบ.มค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานทุกพื้นที่ โดยอยู่ในระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพและอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 56-96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70พื้นที่ คือ สูงสุด ในพื้นที่ เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม.

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 9 – 13 มี.ค. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน อยู่ในสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 9 มี.ค.2566

 

 

ในช่วงวันที่ 10-12 มี.ค.2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง ในช่วงนี้มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง มีอากาศเย็นตอนเช้า กลางวันอากาศร้อน (ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ควรระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ และต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ควรระวังโรคลมแดด

 

 

ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 12 – 14 มี.ค.66 อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อน(พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

 

วันที่ 9 มี.ค. 2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดยหลังจากวันที่ 9 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

 

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 มีนาคม 2566 จำนวน 2 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 เวลา 13.16 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก
จุดที่ 2 เวลา 13.16น. แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube