Home
|
อาชญากรรม

จับหมอจีน ลักลอบผลิต-ขายสมุนไพรเถื่อน

Featured Image
อย. ร่วม ปคบ. จับหมอจีนบุกทลายสถานที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเถื่อน

 

 

 

 

วันนี้ (25 เม.ย. 66) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., เจ้าหน้าที่พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ, ว่าที่ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ, นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภก.ฉัตรชัย พานิชศุภภรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติ กรณีตรวจค้นสถานที่ลักลอบผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเถื่อน ย่านเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน จำนวนกว่า 60,000แคปซูล และเครื่องจักรสำหรับผลิตสมุนไพรจีน มูลค่ากว่า 800,000 บาท

 

 

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งจากผู้บริโภคว่า มีเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “หมอเถียรแพทย์แผนจีน” มีการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีนทั้งชนิดแคปซูลและน้ำสมุนไพรจีน ในลักษณะกล่าวถึงสรรพคุณการรักษาที่เกินจริง โดยมีการกล่างอ้างว่า ยาสมุนไพขนานเดียวสามารถรักษาอาการต่างๆได้ครอบจักรวาล อาทิเช่น สามารถปรับสมดุลร่างกาย รักษาเรื่องการนอนไม่หลับ คอแห้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตาแห้ง เวียนหัว ไมเกรน กรดไหลย้อน ขับถ่ายไม่ดี ชาปลายมือปลายเท้า ออฟฟิตชินโครม ปวดหลัง ปวดคอ

 

 

บำรุงตับและสรรพคุณอีกหลายประการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวพบว่าจำหน่ายในเพจเฟซบุ๊กนั้น ไม่มีการขออนุญาตในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนจนกระทั่งทราบว่ามีแหล่งจำหน่าย และผลิตสมุนไพรอยู่ที่พื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

 

 

ต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)นำหมายค้นของศาลจังหวัดพระโขนง เข้าตรวจค้นอาคารแห่งหนึ่งในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดแคปซูล จำนวน 1,000 กระปุก (60,000 แคปซูล), ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีนชนิดน้ำบรรจุถุง รอการจำหน่าย กว่า 700 ถุง, อุปกรณ์การผลิตยาสมุนไพร, หม้อต้มน้ำสมุนไพรอัตโนมัติ 12 เครื่อง, เครื่องบรรจุยาชนิดแคปซูล จำนวน 1 เครื่อง และพยานหลักฐานอื่น ๆ ในคดีจึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนำส่งพนักงาน

 

สอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ดำเนินคดีจากการตรวจสอบพบว่า สถานที่ดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน โดยไม่มีการขออนุญาตในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุ ไม่ได้มีการขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้บริโภคจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่า

 

 

มีส่วนผสมอะไรในนั้นบ้าง จึงมีการอ้างถึงสรรพคุณในลักษณะสมุนไพรขนานเดียว รักษาโรคครอบจักรวาลเช่นนี้พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.ได้แจ้งข้อกสาวหา นาย จวิ้น เฉียง สงวนนามสกุล อายุ 45 ปี ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสมุนไพรดังกล่าว ฐาน “ผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหาว่า

 

 

ภก.ฉัตรชัย พานิชศุภกรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ผสิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการบำบัด บรรเทารักษา ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรค อย. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยสามารถตรวจสอบว่า ผสิตภัณฑ์สมุนไพรใดได้รับอนุญาตแล้ว จากเลขที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ หรือเลขที่แจ้งรายละเอียด หรือเลขที่รับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่วนการขายผสิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น

 

 

ผู้ขายต้องมีใบอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยกเว้นการขาย “ผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป” ที่ผู้ขายไม่ต้องมีใบอนุญาตขาย ซึ่งสังเกตได้จากบนฉลากผลิตภัณฑ์ ระบุคำว่า “ผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป” เป็นตัวอักษรอยู่ในกรอบสีเขียว จึงขอฝากพี่น้องประชาชน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับอนุญาต และซื้อจากผู้ขายที่มีหลักแหล่งชัดเจน

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube