fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

ยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด บำบัดได้ไม่ต้องติดคุก

ปัญหายาเสพติดถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ที่ทุกรัฐบาลต้องการแก้ไขและปราบปราม ซึ่งประเทศไทยมีกฎหมายยาเสพติดลงโทษผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดที่รุนแรง แต่ก็ดูเหมือนปัญหายาเสพติดจะไม่ได้ลดน้อยลงไป

 

 

 

 

 

 

จากสถิติของกรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2565 ระบุว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติดมากถึง 217,966 คน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 266,589 คนทั่วประเทศ เรือนจำในประเทศไทยมีผู้ต้องขังคดียาเสพติดมากถึง ร้อยละ 81.66 ซึ่งมีทั้งชาย หญิง วัยรุ่น และผู้สูงอายุ

 

 

 

แต่ข้อมูลของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(องค์การมหาชน) หรือ TIJ รายงานว่า ประเทศไทยมีผู้ต้องขังหญิงมากที่สุดในอาเซียน และกว่า 85 เปอร์เซ็นต์เข้าเรือนจำด้วยความผิดคดียาเสพติด

 

 

 

ปัญหาผู้ต้องหายาเสพติดล้นคุกก็ทำให้หลายภาคส่วนเริ่มเข้ามาแก้ไขและดูแลเรื่องกฎหมายยาเสพติด เพื่อลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ ขณะที่เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และตำรวจ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหารือร่วมกันเรื่องการออกประกาศกำหนดจำนวนครอบครองเม็ดยาบ้าว่า ควรมีจำนวนกี่เม็ดถึงเป็นผู้เสพและเข้ารับการบำบัดรักษา

 

 

 

นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า มติที่ประชุมเห็นตรงกันกำหนดให้ผู้ครอบครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ดให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพที่ต้องเข้ารับการบำบัดด้วยความสมัครใจหากเกิน 5 เม็ด ให้ถือเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษ ซึ่งมีโทษเท่ากับการจำหน่าย ผลิตหรือนำเข้ายาเสพติดให้โทษ แต่ต้องดูพฤติการณ์ของผู้ครอบครองยาเสพติดด้วยว่าเข้าข่ายเป็นผู้ค้าหรือไม่

 

 

 

 

ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ จะนำมติที่ได้เสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และออกเป็นร่างประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนประชาพิจารณ์ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลา เพราะมีกระบวนการหลายขั้นตอน

 

 

 

 

สำหรับเหตุผลพิจารณาการถือครอบครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ดเป็นผู้เสพ พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้ระบุว่า ได้พิจารณาจากเหตุผลทางวิชาการทางการแพทย์ และผลกระทบต่อชุมชน พบว่าปริมาณยาบ้าเกิน 5 เม็ด จะมีผลต่อสมองและระบบประสาทชัดเจน ทำให้เกิดอาการทางจิตหวาดระแวง เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคม

 

 

 

พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผู้บังคับบัญชาตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ผบช.ปส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า  ตามหลักกฎหมายจะแบ่งความผิดเป็น 2 ประเภท คือ

 

 

 

 

1.ผิดเรื่องของเสพ จะเสพโดยตรงหรือครอบครองเพื่อเสพ และ 2.ความผิดร้ายแรง ได้แก่ ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และครอบครอง มีโทษเท่ากัน ดังนั้น ไม่ว่าครอบครองหรือจำหน่ายฐานโทษเท่ากัน แต่ก็มีกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่าง และต้องการให้ทบทวนถึงผลเสีย เนื่องจากเกรงว่าผู้ค้าจะหันมาใช้วิธีค้ายาบ้าครั้งละ 5 เม็ด เพื่อเลี่ยงโทษจำคุก เมื่อบำบัดฟื้นฟูเสร็จก็ออกมาขายเหมือนเดิม เป็นการเอื้อให้ผู้ขายมีช่องทางทำมาหากินมากขึ้น ผนวกกับที่นายกรัฐมนตรีอนุมัติการจัดโซนเปิดสถานบันเทิงตีถึง 4 เพื่อกระตุ้นรายได้ และคาดว่าระยะยาวจะเติบโตกว่า 40-50% ถือว่าเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ค้า หรือผู้เสพยาเสพติดหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube