fbpx
Home
|
ข่าว

หัวเว่ยเผยโฉมโซลูชันทางรถไฟอัจฉริยะที่งานเอเชีย แปซิฟิก เรล ประจำปี 2566

Featured Image

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันทางรถไฟอัจฉริยะแห่งอนาคตที่งานนิทรรศการขนส่งทางรางระดับเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2566 (Asia Pacific Rail 2023) ซึ่งเป็นอีเวนต์ที่ทรงอิทธิพลด้านทางรถไฟมากที่สุดในภูมิภาค 

เซียง สี รองประธานหน่วยธุรกิจการขนส่งระดับโลกของหัวเว่ย (Huawei Global Transportation BU) กล่าวระหว่างการปาฐกถาว่า ด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมรถไฟกว่า 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของเราเมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้กำหนดพันธกิจของเราในอุตสาหกรรมนี้อย่างชัดเจน นั่นคือ เพื่อพลิกโฉมการเชื่อมต่อ ก่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ และเปิดทางสู่ระบบอัจฉริยะ

อุตสาหกรรมรถไฟกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหัวเว่ยได้ทุ่มเทเพื่อยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านรถไฟและการบำรุงรักษา ด้วยโซลูชัน ICT ล่าสุด และด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นสูงต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล, ระบบอัตโนมัติ, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), แมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning), ระบบสื่อสารทางไกลทางรถไฟแห่งอนาคต (FRMCS), เอ็มเอสเอ็น (MSN), เครือข่ายสถานี, ที่เก็บข้อมูล และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) 

สตีเวน สฺยง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมรถไฟของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ (Rail Industry of Huawei Enterprise BG) กล่าวว่า สถานีอัจฉริยะเป็นโซลูชันนวัตกรรมเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้โดยสารและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยตัวสถานีสามารถรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศทั้งหมดจากทุกแอปพลิเคชันในสถานี โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ชนิดใหม่คือรากฐานสำหรับสถานีอัจฉริยะ เราควรยกเลิกระบบ ICT ที่ทำงานแยกกัน อย่างเซิร์ฟเวอร์, ที่เก็บข้อมูล และเครือข่าย หรือแม้กระทั่งข้อมูลและอื่น ๆ แล้วแทนที่ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยระบบคลาวด์”  หัวเว่ยใช้เทคโนโลยี ICT ล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเมืองต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สร้างแรงผลักดันใหม่สำหรับการพัฒนาเมืองและเอเชียแปซิฟิกดิจิทัลขึ้นมา โดยมุ่งเน้นไปที่การรับมือกับความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ที่สำคัญทั้งในระบบเส้นทางรถไฟสายสำคัญและรถไฟใต้ดิน

“ทุกวันนี้ ระบบทางรถไฟเกือบทั้งหมดยังคงดำเนินงานโดยใช้เครือข่ายแบนด์วิดท์ไร้สายความถี่แคบ สำหรับการส่งข้อมูลและการส่งสัญญาณบนราง เช่น จีเอสเอ็ม-อาร์ (GSM-R) หรือวิทยุสื่อสารภาคพื้นดิน (Tetra Radio) และเทคโนโลยีเหล่านี้ตกยุคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและไม่อาจรองรับความต้องการของระบบรถไฟอัจฉริยะได้ FRMCS คือระบบสื่อสารไร้สายตัวใหม่สำหรับทางรถไฟ ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 4G ที่เดิมทีมาจากผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อให้บริการรถไฟที่มีความน่าเชื่อถือและแบนด์วิดท์สูงสำหรับการเชื่อมต่อกับภาคพื้นดิน” แจ็คกี เมียว อำนวยการฝ่ายบัญชีขององค์กรการขนส่งประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าว

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube