เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ส่งเสริมการสำรวจและดำเนินการตามกลยุทธ์สนับสนุนพลังงานหลากหลายรูปแบบซึ่งอาศัยการจัดเก็บไฮโดรเจนที่บูรณาการกับที่มา-กริด-โหลด รวมทั้งขยายขอบเขต “การบูรณาการพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน และการจัดเก็บ” และ “การบูรณาการแหล่งกักเก็บไฮโดรเจนกับที่มา-กริด-โหลด” ผ่านนวัตกรรมและการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ พร้อมยกระดับและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางอุตสาหกรรมมาใช้ กรอบกลยุทธ์การทำงานนี้จะพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาซัพพลายพลังงานที่มีเสถียรภาพในระยะสั้น และการสร้างสังคมคาร์บอนปลอดศูนย์ในระยะกลางและระยะยาว
เล้ง เว่ยฉิง ประธานกลุ่มบริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก กล่าวผ่านข้อเสนอระหว่างการประชุมสองสภา (Two Sessions) ประจำปี 2566 ว่า เราควรเร่งสร้างระบบและกลไกที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในหมู่ผู้ให้บริการพลังงานและหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนยกเลิกกำแพงนโยบายที่ขวางกั้นไม่ให้องค์กรเหล่านั้นจัดตั้งความร่วมมือในการลดคาร์บอนร่วมกันได้
บริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก วินด์ พาวเวอร์ มีโครงการพลังงานลมนอกฝั่งที่ติดตั้งใหม่มากที่สุดในจีน ครองตำแหน่งสูงสุดติดต่อกัน 8 ปีซ้อนด้วยความสามารถในการผลิตพลังงานสะอาดรวม 7.05 กิกะวัตต์ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทได้เข้ามามีบทบาทในการก่อสร้างโครงการวิจัยและสาธิตอุปกรณ์โรงไฟฟ้าพลังงานลมผสมผสานการทำฟาร์มประมงโครงการแรกของจีน ทำให้บริษัทได้รับรางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานลมลอยน้ำ ในการสัมมนาว่าด้วยการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานใหม่และการคัดเลือกอุปกรณ์ (New Energy Power Plant Design and Equipment Selection Seminar) ครั้งที่ 7 ด้วยการสร้างความมั่นใจและรับรองความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของการออกแบบระบบอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ โครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งต้าถัง หนานอ้าว เล่อเหมิน (Datang Nan’ao Lemen) ซึ่งบริษัทเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก วินด์ พาวเวอร์ มีส่วนร่วมด้วยนั้น ก็เพิ่งประกาศความสำเร็จในการผลิตไฟฟ้าเต็มรูปแบบนอกเหนือจากการออกแบบ โดยผลิตไฟฟ้าได้ 5,882,200 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน สร้างสถิติใหม่ในการผลิตไฟฟ้าในวันเดียวนับตั้งแต่ที่โครงการนี้เปิดดำเนินการ
โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติ
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบโฟโตเทอร์มัลของดูไบ (Dubai Photothermal Photovoltaic Project) ที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือกับบริษัทเอซีดับบลิวเอ พาวเวอร์ (ACWA Power) ได้เข้าสู่การก่อสร้างในขั้นสำคัญ เพื่อเป็นความก้าวหน้าทางพลังงานสะอาดครั้งสำคัญ สำหรับการประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change) ครั้งที่ 28 ซึ่งจะจัดขึ้นในสหรัฐอาหรับเอมิเรตในช่วงปลายปี 2566 จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสานต่อความร่วมมือในอนาคตในตะวันออกกลางในขอบข่ายที่มีการใช้พลังงานต่ำได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานใหม่
โครงการนี้เป็นแลนด์มาร์กสำหรับทั้งสองฝ่ายในการสานต่อความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฮโดรเจน และการใช้พลังงานต่ำอื่น ๆ และแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ในตะวันออกกลาง นอกจากนี้แล้ว โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 91.54 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในปาเลาเคาน์ตี เมืองบราซอฟของโรมาเนีย ก็เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ สัญญาดังกล่าวประกอบด้วยการจัดหาอุปกรณ์ การออกแบบ การก่อสร้าง การทดสอบการเดินเครื่อง และการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 91.54 เมกะวัตต์ ซึ่งจนถึงปัจจุบัน โครงการได้เสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นแล้วในส่วนของแผนผัง ถนนทางเข้า และสายเคเบิล และได้มีการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างสำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์หลัก ตัวยึด อินเวอร์เตอร์ และอื่น ๆ