fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

อยุธยารับมือมวลน้ำ ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง

กรมชลประทานปรับการระบายน้ำท้าย “เขื่อนเจ้าพระยา” ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝน – น้ำท่า

 

 

หลังมีฝนตกชุกในพื้นที่ตอนบนของภาคเหนือตอนล่าง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระดับน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้น

 

โดยที่สถานีวัดน้ำ C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจุดนี้เป็นจุดเฝ้าระวังปริมาณน้ำก่อนที่จะเข้าสู่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยวันนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านขยับขึ้นเป็น2,460ลบ.ม./วินาที เทียบกับ เมื่อวาน(13ก.ย.65) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 2,374ลบ.ม./วินาที ซึ่ง กทม.สามารถรับน้ำเหนือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระดับ 2,500 – 3,000 ลบ.ม./วินาที

 

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า สถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนและหมู่บ้านหลายพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ประกอบด้วย อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.บางปะหัน อ.นครหลวง และ อ.พระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบด้วย

 

และจากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ อ.บางบาล และ อ.บางไทร บอกกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ชุมชนในหมู่บ้านได้มีการเตรียมความพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นมาอยู่ที่สูง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหลังจากที่ทางองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานได้แจ้งเตือนเรื่องระดับน้ำ และการปล่อยน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

 

ซึ่งเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าฝน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนที่จะเข้าสู่กรุงเทพมหานครชุมชนบริเวณใกล้เคียงที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำจะทราบดี ว่าเมื่อถึงหน้าฝนจะต้องเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง

 

 

ขณะที่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอยุธยา ได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมการจราจรทางน้ำ โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานฯ เพื่อเฝ้าฟังวิทยุ และสายด่วน 1199 พร้อมรับแจ้งเหตุ รวมทั้งจัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ประจำเรือตรวจการณ์ และรถยนต์ตรวจการณ์ ออกควบคุมการจราจรทางน้ำและประชาสัมพันธ์เรื่องความปลอดภัยของการสัญจรทางน้ำในช่วงฤดูฝน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube