fbpx
Home
|
ข่าว

ปธ.ปปช.ย้ำยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน เพื่อโปร่งใส ไม่ใช่จับผิด

Featured Image
ประธาน ป.ป.ช.ย้ำยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน สร้างความโปร่งใส ไม่ใช่จับผิด เตรียมแก้ กม.ให้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีความเสี่ยงสูงยื่นทรัพย์สินต่อป.ป.ช.โดยตรง เผย ยื่นทรัพย์สินผ่านระบบ ODS ยังน้อยทั้งที่ง่ายและประหยัดเวลา

 

 

 

 

พลตำรวจเอกวัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน : กลไกในการสร้างความสุจริต โปร่งใส และยกระดับการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน”ตอนหนึ่ง ว่า หน้าที่ของป.ป.ช.นอกจากจะตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินก็ต้องตรวจสอบในเรื่องของความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินที่ผิดปกติด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ผิดปกติจะนำไปสู่ของความร่ำรวยผิดปกติ

 

 

ซึ่งเหตุผลที่ต้องตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินคือ1.สร้างความโปร่งใสให้ระบบการเมือง ไม่ใช่การจับผิดแต่เป็นการส่งเสริมการมีคุณภาพธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.ส่งเสริมด้านการปราบปรามการทุจริตเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการทุจริตจะถูกแปลงเป็นทรัพย์สินอื่นๆเพื่อปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินที่ได้มาจากคอรัปชั่น 3.คัดกรองบุคคลและปิดโอกาสให้กับคนที่ทุจริตไม่ให้เข้าไปอยู่ในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ 4.เมื่อยื่นแล้วป.ป.ช.ต้องเปิดเผยเพื่อให้คนที่มีอำนาจตรวจสอบสูงสุดคือประชาชนได้ตรวจสอบว่าทรัพย์สินที่มีการเปิดเผยครบถ้วนหรือไม่

 

 

สำหรับประเภทบุคคลที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินมีทั้งหมด 4 ประเภท ประกอบด้วย 1 คณะกรรมการปปช.ยื่นกับประธานวุฒิสภาซึ่งเป็นไปตามมาตรา 42 และ2.ยื่นตามมาตรา 102 คือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระอื่นๆอีก 4 องค์กร รวมทั้งองค์กรอัยการ 3. เจ้าพนักงานของรัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินตามมาตรา 103 แต่มาตรานี้จะให้อำนาจป.ป.ชประกาศกำหนดตำแหน่งที่จะยื่น และในอนาคต ข้างหน้า ป.ป.ช. จะให้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตำรวจ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช. โดยตรง ซึ่งขณะนี้ป.ป.ช.กำลังเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

และ 4.มาตรา158 เจ้าหน้าที่สำนักงานป.ป.ช.ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน พนักงานไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ในตำแหน่งเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินจะต้องยื่นบัญชีโดยจะยื่นกับป.ป.ช. ซึ่งตนจะทำหน้าที่เป็นประธานในการตรวจสอบเองซึ่งเราจะตรวจสอบเข้มข้นเช่นเดียวกัน

 

 

ส่วนรายการทรัพย์สินก็จะต้องยื่นต้องยื่นทั้งของผู้ยื่นคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยประกอบด้วยรายการเงินสด,เงินฝาก,เงินลงทุน,เงินให้กู้ยืม,ที่ดิน,โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง,ยานพาหนะ,สิทธิ์สัมปทานและทรัพย์สินอื่นเช่นพระบูชา ขณะที่หนี้สินก็จะต้องยื่นรายการเงินเบิกเกินบัญชี,เงินกู้จากธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และหนี้สินอื่นๆ

 

 

สำหรับช่องทางการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมี 3 ช่องทางคือ1.ยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นแทนที่สำนักงานป.ป.ช. 2.ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและ3.ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแบบ ods ซึ่งในช่องทางที่ 3 น่าเสียดายที่มีผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินยังไม่ถึง 10% และพยายามหาวิธีแก้ไขเพื่อให้ยื่นผ่านแบบ ods ให้มากขึ้น ซึ่งการยื่นแบบ ods จะเป็นประโยชน์กับผู้ยื่นเป็นอย่างมากและทำให้ระบบเก็บรักษาได้ง่ายและไม่สูญหายอีกทั้งยังประหยัดเวลาอีกด้วย

 

 

สำหรับระยะเวลาในการยื่นแต่ถ้าหากยื่นไม่ทันก็สามารถขอขยายเวลาออกไปได้อีกแต่สุดท้ายแล้วไม่ยื่นก็จะเจอทางปปช.แจ้งข้อกล่าวหาหากชี้แจงแล้วฟังขึ้นข้อกล่าวหาก็ตกไปแต่หากฟังไม่ขึ้นก็จะนำเรื่องขึ้นสู่ศาล หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็จะนำไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube