Home
|
ข่าว

โจทย์วิจัยนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางไทยสู่เชิงพาณิชย์

Featured Image
กมธ.อุดมศึกษาฯ ร่วมกับ กมธ.เกษตรฯ วุฒิสภา จัดสัมมนา “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” หวังยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ยางทั้งระบบ

 

 

 

คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา จัดสัมมนา เรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยมีสมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนจากคณะกรรมาธิการ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน เข้าร่วมสัมมนา เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม , กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง, ผู้ประกอบการธุรกิจยางพารา เกษตรกร เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องประชุม B1-1 และห้องประชุม B1-3 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา

 

 

โดยมีพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา โดยกล่าวว่า คณะกรรมาธิการได้เห็นความสำคัญของการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยเชิงระบบให้ครบถ้วนที่มุ่งเน้นเรื่องผลิตภัณฑ์ และการวิจัยตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการผลิตยางพาราไทย ดังนั้นจึงจัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยางพาราไทยทั้งระบบ

 

 

ซึ่งภายในการสัมมนาได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษจากนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เรื่อง “การสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยกล่าวว่า หากไทยสามารถพัฒนาการแปรรูปยางพาราได้ถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ ก็จะยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมได้สูงขึ้น โดยไทยมีพื้นที่เพาะปลูกสำคัญคือจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราชตรัง และยะลา ขณะนี้ จีนได้เข้ามาเปิดตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า และมีผลต่อการกำหนดราคายางต่างประเทศ แต่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์จากยางพาราเป็นอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ จีน และรัสเซีย ซึ่งได้นำยางไปใช้แปรรูปกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ

 

 

ด้านนายโกศล บุญคง รองผู้ว่าการด้านธุรกิจ การยางแห่งประเทศไทย กล่าวบรรยาย เรื่อง “สถานการณ์ยางพาราไทยกับบทบาทของการยางแห่งประเทศไทย” ว่า ปัจจุบันราคายาง ณ วันที่ 1 ม.ค.67 สูงสุดในรอบ 40 เดือน โดยในปี 2566 มีสัดส่วนการผลิตในตลาดโลกลดลงเหลือ ร้อยละ 31 เป็นผลมาจากอินโดนีเซียและโกตดิวัวร์ มีสัดส่วนผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การยางฯ ได้จัดทำโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางของตลาดกลางยางพารา และโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยประโยชน์ที่ได้รับ คือ สามารถรักษาระดับราคาไม่ให้ผันผวน

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube