fbpx
Home
|
ข่าว

“สุชาติ” หนุนผู้ว่าแบงค์ชาติเน้นเติบโตศก.

Featured Image
“สุชาติ” หนุนผู้ว่าแบงค์ชาติ เน้นเติบโตเศรษฐกิจ มากกว่ารักษาเสถียรภาพ เพราะเงินเฟ้อไทยมาจากต้นทุนนำเข้า แต่อาจขึ้นดอกเบี้ยเล็กน้อยได้ เพราะดอกเบี้ยเรายั่งต่ำ

 

 

 

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับกรอบคิด นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าแบงค์ชาติที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน มากกว่าการรักษาเสถียรภาพที่ต้องทำให้เงินเฟ้อต่ำๆ และเงินทุนต่างประเทศไม่ไหลออก เนื่องจากเงินเฟ้อไทยครั้งนี้มาจากด้านต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดอำนาจซื้อ อาจลดเงินเฟ้อไม่มาก รัฐบาลต้องแก้ไขเงินเฟ้อ ด้วยการลดการผูกขาดในหลายอุตสาหกรรมและลดค่าการกลั่นน้ำมันที่สูงมากเกินไปด้วย

 

ซึ่งแบงค์ชาติญี่ปุ่นใช้แนวความคิดนี้ จึงได้ปล่อยให้ดอกเบี้ยติดลบ 0.1-.02 ตั้งใจทำให้ค่าเงินเยนอ่อน ซึ่งอ่อนลงแล้ว 22% เทียบปีที่แล้ว มีผลให้การส่งออก การบริโภค การลงทุน การจ้างงาน และรายได้ประเทศ (GDP) สูงขึ้น ประชาชนฐานะดีขึ้น เพราะเงินเฟ้อในญี่ปุ่น ก็มาจากต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น โดยแบงค์ชาติกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.65 อยู่ที่ 7.1 % มาจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุน ทำให้ กนง.ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้จาก 4.9 % เป็น 6.2 % และปี 2566 จาก 1.7 % เป็น 2.5 %

 

คาดว่าจุดสูงสุดจะอยู่ที่ไตรมาส 3 ปีนี้ แต่ตัวเลขคงไม่ถึง 2 หลัก และหลังจากนั้นจะทยอยปรับลดลงตามการผลิตน้ำมันดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ กนง.ได้ปรับประมาณ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2565 เพิ่มเป็น 3.3 % จาก 3.2 % และในปี 2566 ขยายตัว 4.2 % จากเดิมอยู่ที่ 4.4 % จากตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1/65 ออกมาค่อนข้างดี

 

โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเร็วขึ้น คาดว่าปลายปีจะอยู่ที่ 6 ล้านคน และปีหน้าจะอยู่ที่ 19 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะถัดไป อัตราดอกเบี้ยไทยยังไม่สูง 0.5% แบงค์ชาติอาจปรับขึ้นบ้าง ครั้งละ 0.25% ให้นักลงทุนสบายใจว่า แบงค์ชาติระวังเรื่องตลาดทุนด้วย ไม่ปล่อยให้เงินทุนระยะสั้นไหลออกมากไป แต่ควรรักษาค่าเงินบาทให้แข่งขันได้ดี ทำให้ส่งออกได้มาก ซึ่งจะทำให้ไทยรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานไว้ได้

 

โดยนายสุชาติ ระบุว่า มีคนพูดว่า หากเทียบภาระที่เกิดขึ้นกับครัวเรือน ระหว่างเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย พบว่าเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่เพิ่มภาระให้มากกว่าค่อนข้างมาก คือเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้ลดอำนาจซื้อลงไปมากกว่าการขึ้นดอกเบี้ย คำพูดนี้อาจไม่ถูกต้อง ที่คิดว่าขึ้นดอกเบี้ยแล้วเงินเฟ้อจะลดลง การขึ้นดอกเบี้ยคราวนี้ เงินเฟ้อจะลดลงไม่มาก เพราะเงินเฟ้อไทยมาจากต้นทุนนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับกรณีของประเทศญี่ปุ่น

 

ซึ่งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจว่า ทำไม 7-8 ปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจไทยจึงเจริญเติบโตต่ำ ความจริงก็คือ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่น่าเชื่อถือเชื่อมั่นต่อรัฐบาล
และอีกส่วนหนึ่งมาจากการมีดอกเบี้ยที่สูงเกินไปและค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube