fbpx
Home
|
ภูมิภาค

ชลประทานโคราชระบุปีนี้ไร้ปัญหาภัยแล้ง

Featured Image
ชลประทานโคราช ระบุ ปีนี้ไร้ปัญหาภัยแล้ง น้ำดี ช่วยพื้นที่เกษตรได้กว่า 3 แสนไร่ ย้ำทุกอ่างฯ รักษาระดับน้ำ

นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์ในเขื่อนต่างๆในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่า ปีที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำต่างๆในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับอิทธิพลจากปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นจากพายุ 5 ลูก และจากหย่อมความกดอากาศสูง อีก 2 ลูก ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆทั้งอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาณน้ำเต็มความจุเกือบทุกอ่าง ทำให้การบริหารจัดการน้ำช่วงหน้าแล้ง สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรได้ กว่า 300,000 ไร่ เพื่อปลูกข้าวนาปรัง ปลูกพืชฤดูแล้ง และพืชใช้น้ำน้อย

นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา

ทั้งนี้ภาพรวมปริมาณน้ำทั้งจังหวัด ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่าง รวมกว่า 64 เปอร์เซ็นต์ หรือ 781 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระดับนี้สามารถช่วยเหลือได้ทั้งเรื่องอุปโภค บริโภค ระบบนิเวศน์ การเกษตร อุตสาหกรรม และกิจการอื่นๆ ซึ่งได้มีการบริหารจัดการน้ำร่วมกับคณะกรรมการจัดการน้ำในแต่ละอ่าง เพื่อวางแผนการส่งน้ำแล้ว

ส่วนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ ทางกรมชลประทานได้มอบหมายให้มีการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ว่า ปีนี้ฝนจะดี  และช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 จะมีฝนตกมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่จะมีทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และในช่วงปลายปีจะมีฝนตกลงมามากอีกครั้ง  ซึ่งสถานการณ์จะคล้ายกับปี 2551 จึงได้จำลองสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อบริหารจัดการน้ำในปีนี้ เพื่อการใช้น้ำจะได้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม ปัญหาภัยแล้งในปีนี้ผ่านไปได้ด้วยดี น้ำมีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค แต่ที่ต้องเฝ้าระวังตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ไว้ก็คือ ปลายปีจะมีปริมาณน้ำฝนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงนี้ จึงต้องรักษาระดับน้ำในแต่ละอ่างไว้ให้เหมาะสม ทั้งการรับมือในสถานการณ์ภัยแล้งในปีถัดไป และสถานการณ์น้ำมากในปลายปีนี้

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube