Home
|
ทั่วไป

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ร่วมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพจิตทีดีในที่ทำงาน เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก

Featured Image

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) รณรงค์เรียกร้องให้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการมีสุขภาพจิตที่ดีสำหรับพนักงานทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เกิดวิกฤตรอบด้าน (polycrisis) และวิกฤตซ้อนวิกฤต (permacrisis)  จึงทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพจิตของพนักงานอันเนื่องมาจากความท้าทายเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา 

ขณะที่องค์การอนามัยโลก รายงานว่า จากข้อมูลในปี 2562 พบว่า 15% ของผู้ใหญ่วัยทำงานมีความผิดปกติทางจิต และในแต่ละปี องค์กรต่าง ๆ ต้องสูญเสียวันทำงานถึง 12 พันล้านวันไปกับโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล1 ศูนย์ให้บริการความช่วยเหลือของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS Assistance Centre) ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น 5% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การเลือกปฏิบัติและความไม่เท่าเทียมกัน ภาระงานที่มากเกินไป การควบคุมงานในระดับต่ำ และความไม่มั่นคงในอาชีพการงาน ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต

ดร. โอลิเวอร์ แฮร์ริสัน ซีอีโอของโคอา เฮลท์ (Koa Health) ผู้นำระดับโลกด้านบริการดูแลสุขภาพจิตแบบดิจิทัล กล่าวว่า “เราอยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทาย ทั้งจากแรงกดดันด้านค่าครองชีพทั่วโลก การฟื้นตัวจากโรคระบาด ความขัดแย้งในยุโรป ตลอดจนวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ด้วยบริบทนี้ การมีสุขภาพจิตที่ดีจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พนักงานแต่ละคนนั้นใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตในที่ทำงาน ซึ่งหมายความว่านายจ้างจำเป็นต้องให้การสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิตแก่พนักงาน ด้วยการป้องกันอันตราย และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมและเข้าถึงง่ายสำหรับทุก ๆ คน 

องค์กรต่าง ๆ จะต้องดำเนินการเพื่อให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและสุขภาวะของพนักงานทุกคนเป็นลำดับแรก เพื่อเสริมสร้างสุขภาพทั้งของทีมงานและธุรกิจ สมาชิกในทีมจะต้องเข้าถึงการสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิตได้ทุกที่ทุกเวลาเมื่อต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาในแต่ละวัน หรือการดูแลรักษาจากแพทย์”

ทางด้าน ดร.โรดริโก โรดริเกซ-เฟอร์นันเดซ ที่ปรึกษาด้านสุขภาวะและสุขภาพจิตระหว่างประเทศ (Global Health Advisor, Wellness and Mental Health) ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “การมองข้ามปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงานมักจะมาพร้อมกับราคาที่ต้องจ่าย ไม่เพียงเฉพาะด้านการเงิน แต่ยังรวมไปถึงผลทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถละเลยได้ เพราะทุกคนจะได้รับผลสะท้อนจากเรื่องนี้ ตั้งแต่พนักงานรายบุคคลไปจนถึงองค์กรโดยรวม และเนื่องจากบุคลากรอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเมื่อเข้ารับบริการทางด้านสุขภาพจิต องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนการป้องกัน ตลอดจนให้คำปรึกษาและการสนับสนุนที่เหมาะสมแก่ทีมงานในราคาที่จับต้องได้ 

“องค์กรที่ทุ่มเทเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการมีสุขภาพจิตที่ยั่งยืนนั้นเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงลึกและทรัพยากร เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายได้ตระหนักถึงเรื่องของสุขภาพจิต และด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี องค์กรต่าง ๆ จึงวางแผนจัดทำโปรแกรมสุขภาพจิตแบบองค์รวมสำหรับพนักงาน การดำเนินการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและยืดหยุ่น พร้อมที่จะรับมือกับความซับซ้อนของภูมิทัศน์ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube