Home
|
อาชญากรรม

“ทวี”นำร่องเรือนจำมีนบุรีแยกการควบคุมผู้ต้องขัง

Featured Image

 

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นำร่องเรือนจำพิเศษมีนบุรี แยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผู้ต้องขังเด็ดขาด

 

 

(วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567) ที่เรือนจำเศษมีนบุรี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางไปยังเรือนจำพิเศษมีนบุรี เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิด “เรือนจำศูนย์ระหว่างการพิจารณาคดี” ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรี ซึ่งจะเป็นศูนย์แยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผู้ต้องขังเด็ดขาดของกลุ่มเรือนจำในกรุงเทพมหานคร โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนริทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์นายนนทรัตน์ หอมศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผู้แทนจากสำนักอนุญาโตตุลาการ ศาลยุติธรรม, สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(องค์การมหาชน) หรือ ทีไอเจ และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมให้การต้อนรับ

 

 

พ.ต.อ.ทวี ได้กล่าวเปิดงาน โดยระบุว่า ศักดิ์ศรีของทุกคนเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองโดยเฉพาะ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้หลายอย่างในชีวิตไม่สามารถเลือกได้ เช่น เชื้อชาติ สถานที่เกิด ฯลฯ รวมถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่สามารถเลือกและไม่สามารถแก้ไข แต่ขอให้ถือเป็นบทเรียนหรือบางครั้งที่มีอดีตในขั้นวิกฤติให้ถือเป็นโอกาสในชีวิต การแยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี กับ ผู้ต้องขังเด็ดขาด มีเหตุผลเพื่อให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ได้สามารถเตรียมตัวพูดคุยกับทนายความ ที่นำไปสู่โอกาสเตรียมสำนวนเอาชนะคดีที่ตนในฐานะจำเลยที่ต้องถูกควบคุมตัวที่เรือนจำในช่วงเวลาระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า หลายครั้ง ฝ่ายโจทก์ มีโอกาสมากกว่า สามารถจ้างทนาย ขณะที่จำเลย ถูกควบคุมตัว เสียเปรียบกว่าในการเตรียมตัวทนาย

 

 

“ภาพการแต่งกายในช่วงเวลาขึ้นศาล สะท้อนภาพชัด คือ ฝ่ายโจทก์สวมเสื้อผ้าภูมิฐาน แต่ฝ่ายจำเลยต้องสวมเสื้อสีกลีบบัวของเรือนจำ บางครั้งมีโซ่ตรวนพันธนาการ” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยกตัวอย่างพร้อมกล่าวฝากไปยังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ในฐานะเป็นศูนย์แยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผู้ต้องขังเด็ดขาด นำไปพิจารณาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

 

 

ทั้งนี้ “เรือนจำศูนย์ระหว่างการพิจารณาคดี” ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรี เป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติงานควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีแยกการควบคุมจากผู้ต้องขังเด็ดขาด ตามข้อกำหนดของกรมราชทัณฑ์ ที่เริ่มจาก การจัดตั้งศูนย์แยกการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผู้ต้องขังเด็ดขาด ให้ทำหน้าที่เป็น Hub ให้กับเรือนจำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเดียวกัน ซึ่งกรมราชทัณฑ์กำหนดไว้ 8 กลุ่มจังหวัดได้แก่ จังหวัดลำปาง, พิษณุโลก, พระนครศรีอยุธยา, ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช, สงขลา, ปทุมธานี และกรุงเทพฯ

 

 

“เรือนจำพิเศษมีนบุรี” ถือเป็นศูนย์กลางในการนำร่องเพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ให้การควบคุมผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวในเรือนจำกลุ่มกรุงเทพฯ เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่งเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

 

สำหรับเรือนจำอื่นๆ ให้ดำเนินการแยกการควบคุมผู้ต้องขังฯ ตามความเหมาะสมของลักษณะกายภาพของเรือนจำแต่ละแห่ง เนื่องจากในบางเรือนจำมีพื้นที่แดนเดียว จึงต้องแบ่งแยก หรือ Block Zone กั้นพื้นที่อย่างน้อยต้องแยกห้องนอนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีกับนักโทษเด็ดขาด ออกจากกันชัดเจน พร้อมการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปตามมาตรฐาน ด้านการควบคุมตัว ตามระเบียบของราชการซึ่งมีการจัดจุดบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องพยาบาล การบริการเยี่ยมญาติ และการพบทนายความ รวมถึงกิจกรรมที่ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีจะได้รับ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube