fbpx
Home
|
ไลฟ์สไตล์

ภาวะดื้อโบ (Botox) เกิดจากอะไร และทำยังไงถึงไม่ให้เกิด

Featured Image

          การฉีดโบท๊อกซ์ เป็นเทคนิคลับคอยเสริมความงามให้พวกเราสวยขึ้นทันใจนานแล้วกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่จับต้องยาก ราคาแสนแพง สู่ยุคสมัยปัจจุบันที่หาฉีดได้แทบทุกย่านสรรพสินค้าพร้อมโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ถึงขนาดชำเลืองไปทางไหนก็ช่างล่อต่อใจเสียเหลือเกิน

          โชคดีของการที่เข้าถึง ร้านฉีดโบท๊อกซ์ ง่ายขึ้นเมื่อมองอีกมุมก็กลายเป็นโชคร้ายเช่นดัน ด้วยการแข่งขันด้านราคาทำให้เริ่มมี โบท็อกคุณภาพต่ำ ออกมาสู่ท้องตลาด ส่งผลให้สาวคนๆไหนที่เผลอโดนเข้าไปก็อาจเข้าสู่ ภาวะดื้อโบ หรือ ภาวะดื้อโบท็อก ได้ในทันที

ภาวะดื้อโบ คืออะไร?

          ภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซิน หรือเรียกกันง่ายๆว่า ดื้อโบ คืออาการที่เราฉีดโบท๊อกซ์เข้าไปแล้วไม่เกิดผลตามที่คาดหวัง หากโชคร้ายก็อาจไม่เห็นผลอะไรเลย จากเดิมที่ประโยชน์ของโบท๊อกซ์จะช่วยลดริ้วรอยหรือลดกราม แต่ฉีดเท่าไหร่ก็ไม่ได้ดีขึ้นเท่าที่คิดไว้เลย โดยสาเหตุของการดื้อโบท็อก มาจากข้อผิดพลาด 3 อย่าง ได้แก่

  • ฉีดโบท๊อกซ์ปลอม

การฉีดโบท๊อกซ์อาจกลายเป็นฝันร้ายได้ง่ายๆ หากเลือกฉีดโบท๊อกซ์ที่เป็นของปลอมหรือไม่มีคุณภาพ หากได้รับเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายก็จะจดจำว่าไม่ปลอดภัยและสร้างภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้ทันที หากได้รับโบท๊อกซ์เข้าไปอีกในอนาคตก็จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป

  • ฉีดโบท๊อกซ์ถี่ไป

การฉีดโบท๊อกซ์ถี่มากเกินไป ร่างกายจะผลิตภูมิคุ้มกันออกมาโจมตีส่งผลให้โบท๊อกซ์ทำงานได้ไม่เต็มที่มากพอ รวมไปถึงการเปลี่ยนยี่ห้อโบท๊อกซ์ถี่ไปก็เป็นอีกสาเหตุให้เกิดอาการดื้อโบได้อีกด้วย

  • ฉีดโบท๊อกซ์มากไป

ยิ่งทำมายิ่งได้มากอาจไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป เพราะตามปกติเราไม่ควรฉีดโบท๊อกซ์เกิน 300 ยูนิตต่อครั้ง  หากได้รับมากจะทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย และถูกมองเป็นสิ่งแปลกปลอมจนเกิดอาการดื้อในที่สุด

          โดยภาวะดื้อโบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมานานแล้วแต่กำลังมีมากขึ้นในประเทศไทย ศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ออกมาเปิดเผยว่าในกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภาวะดื้อโบ จำนวน 137 คน พบมีคนไข้จริงไปแล้วกว่า 79 ราย นับเป็นอัตราเสี่ยงกว่า 58% และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไปหากไม่ป้องกัน

 

วิธีป้องกันการดื้อโบ

          ปัจจุบันยังไม่มีกระบวนการแพทย์สำนักไหนสามารถรักษาภาวะดื้อโบได้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ป้องกันความเสี่ยงจากการดื้อโบแทน ดังนี้

  1. ไม่ฉีดโบท๊อกซ์บ่อย โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป
  2. เลือกคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน อย่าเน้นเพียงราคาถูก
  3. ไม่ใช้โบท๊อกซ์ในอัตราโดสที่สูงมากเกินไป และควรอยู่ในพิจารณาของแพทย์
  4. เลือกยี่ห้อโบท๊อกซ์ที่มีความเสี่ยงน้อย รวมไปถึงห้ามเปลี่ยนยี่ห้อโบท๊อกซ์ถี่เกินไป

          หากป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงเท่านี้ก็เท่ากับปิดประตูความเสี่ยงการแพ้โบไปได้แน่นอน ขอให้ความสวยงามเป็นสมบัติในตัวเราไปนานๆ เหมือนโบท๊อกซ์บนหน้าที่ไล่ความหย่อนยานให้หายไป

ติดตามเรื่องราวสุขภาพดีๆแบบนี้อีกได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/beauty/2545733 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube