fbpx
Home
|
ไลฟ์สไตล์

#ข่มขืนผ่านจอพอกันที สะท้อนสิ่งที่สังคมไทยอยากให้พัฒนา

Featured Image

          #ข่มขืนผ่านจอพอกันที ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งในไทย จากกรณีของละครเรื่อง เมียจำเป็น ที่มีฉาก ตัวร้ายข่มขืนนางร้ายพร้อมถ่ายคลิปแมล็กเมล์ พร้อมมีคำพูดที่นางร้ายพูดใส่นางเอกอย่าง โดนไปกี่ดอก จนทำให้เกิดประเด็นในโลกสังคมออนไลน์ จนมี #แบนเมียจำเป็น ตามขึ้นมา พร้อมกับเสียงที่อยากให้เกิดการพัฒนาในละครไทยสักที แล้ว  #ข่มขืนผ่านจอพอกันที สะท้อนอะไรได้บ้างในสังคมไทย  

          1.สังคมไทยให้ความสำคัญกับการปลูกฝังสิ่งดีๆมากขึ้น 

          หนึ่งในเรื่องที่สังคมไทยพูดถึงกันคือ ละครที่มีเนื้อหาแนวนี้ทำให้เด็กหรือเยาวชน หรือแม้กระทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่บางคนถูกปลูกฝั่งความเชื่อที่ผิด นำไปสู่ความรุนแรงได้ คำถามคือการดูสื่อที่มีความรุนแรงนั้นมีผลจริงรึเปล่า ผลการศึกษาหลายแห่งชี้ว่ามีผล 

          ตัวอย่างเช่น การศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 2007 ในหัวข้อหลัก This is your brain on violent media ที่ตั้งคำถามสำคัญว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์มีผลต่อพฤติกรรมหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ได้ชมคลิปที่มีความรุนแรง ส่งผลให้สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์นั้นทำงานได้น้อยลง อาจจะเป็นผลทำให้คนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ ซึ่งส่วนนี้ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม

          ส่วนในเด็กนั้นการเลียนแบบหรือพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัยเช่น การทะเลาะของคนในครอบครัว สภาพแวดล้อมที่อยู่ การอบรมสั่งสอน และพฤติกรรมต่างทีวีก็มีผลเช่นกัน จากเว็บไซต์ aacap ในหัวข้อ  Tv Violence and Children ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ พฤติกรรมนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากความรุนแรงที่เห็นในทีวีหรือมีแนวโน้มที่จะปรากฏในช่วงวัยรุ่นอีกด้วย อีกทั้งอาจเป็นที่มาของปัญหาการยอมรับว่าความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ปัญหา 

          ผลวิจัยอีกชิ้นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในรายการโทรทัศน์ชี้ว่า “ความรุนแรงของสื่อสามารถส่งผลกระทบต่อเด็กทุกคนจากครอบครัวใดก็ได้” เด็กผู้หญิงที่ดูความรุนแรงมีแนวโน้มที่จะปาสิ่งของใส่สามี ส่วนเด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับภรรยา และยังมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบสิ่งที่เห็น 

          แม้ผลการศึกษายังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามผลการศึกษาก็มากพอที่จะทำให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญเลยทำการแบ่งเรทเนื้อหา จำกัดการเข้าถึงในเนื้อหาต่างๆ ในประเทศไทยเองก็เช่นกัน แต่ปัญหาสำคัญคือการจำกัดการเข้าถึงนั้นต้องมาควบคู่กับการดูแลอย่างใกล้ชิด การสอนอย่างถูกวิธี 

          และเนื้อหาควรปลูกฝั่งค่านิยมที่ถูกต้องหรือปรับให้เข้ากับสมัยใหม่มากขึ้น  นี้คือสิ่งที่สังคมไทยต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในละครบ้านเรา 

          2.ความคิดสร้างสรรค์กับละครไทย

          แน่นอนว่าช่วงหลังนั้นมีละคร ซีรีส์จากประเทศไทยที่แสดงออกถึงแนวคิดที่สร้างสรรค์ สะท้อนปัญหาสังคมได้มากขึ้น แต่แน่นอนว่าเนื้อหาเหล่านั้นมักไม่ได้ลงฉายในช่องใหญ่เช่นๆ ละครที่กำลังเป็นที่พูดถึงกัน นั้นหมายถึงการเข้าถึงนั้นก็ย่อมแตกต่างกันแน่นอน ละครหลังข่าวมักเป็นการรีเมคหรือนำกลับมาทำใหม่ หรือละครนั้นมักใช้เนื้อหาเดิมๆ บทเดิมๆ เช่น พระเอกไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร นางเอกต้องโดนเป็นฝ่ายกระทำ มักมีบทที่พระเอกไปข่มขืนนางเอก จนสุดท้ายได้เป็นแฟนกัน หรือตัวร้ายที่ข่มขืนใครสักคน 

          นี้คือบทละครที่สังคมมองว่าไม่สร้างสรรค์และอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นในละครหรือซีรีส์เกาหลี ที่เสนอออกมาในมุมชวนไป กินรามยอนที่บ้าน เป็นอันว่ารู้กันไม่ต้องมีฉากแนวๆนั้นให้เห็น หรือสอดแทรกเนื้อหาที่ให้ความรู้เช่น การป้องกัน ผลเสียต่างๆหากมีเซ็กส์ไม่ถูกวิธี มุมมองสมัยใหม่ ที่ไม่ใช่การข่มขืนคือเรื่องโรแมนติก บทละครใหม่ๆที่ช่วยพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ที่สร้างเนื้อหาผ่าน Netflix ทำให้มีผู้สนใจไปทั่วโลกและ netflix ขยายการลงทุนสร้างโรงถ่ายที่เกาหลีใต้ จนทำรายได้และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไปทั่วโลก 

          3.ความเท่าเทียบของมนุษย์ 

          ในปัจจุบันความเท่าเทียบของมนุษย์ ไม่ว่าจะเพศชาย หญิง หรือ LGBT+ เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์อย่างมาก แต่ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้น หลายคนเห็นตรงกันว่าละครไทย มักมองผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำในทุกเรื่องและวนเวียนแบบนี้มานานแล้ว และก่อนหน้านี้ในหลายเรื่อง LGBT+ ถูกนำเสนอออกมาในตัวละครตลกเท่านั้นเอง นอกจากนี้คำพูดหรือการเหยียดก็ยังมีแสดงให้เห็นในหลายครั้ง ทำให้สังคมเรียกร้องให้ละครเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอ ผลักจุดยืน ค่านิยมใหม่สักที 

         4.อยากให้ละครไทยช่วยสร้างแรงบันดาลใจบ้าง

          ปัญหาจากข้อที่อื่นๆที่กล่าวมา ละครไทยนั้นเนื้อเรื่องค่อนข้างซ้ำๆกัน หลายคนอยากพลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับต่างประเทศ ที่เนื้อหาช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความรู้เช่น เล่าเรื่องผ่านตัวเอกที่เป็นหมอ เป็นทนาย เป็นคนของรัฐบาล เพื่อแสดงบทบาทออกมาได้อย่างดี แสดงข้อมูลอย่างถูกต้อง ช่วยสร้างความรู้ความสนุกให้กับผู้ที่ชม 

          อยากให้ทุกคนนึกย้อนไปว่าหลายครั้งมันมีผลจริงๆ เช่นการ์ตูนหลายเรื่องอย่าง ยูกิ เบเบลด ก็ทำให้ทุกคนหันมาเล่นตามการ์ตูนกัน หรือยกตัวอย่างหนังไทยอย่าง SuckSeed ที่ฉายในโรง เด็กวัยรุ่นไทยต่างพากันรวมตัวเล่นดนตรี นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแล้วว่าสื่อมีผลแค่ไหนในการเป็นแรงบันดาลใจให้ใครสักคน 

         จากแฮซแท็กที่เกิดขึ้นแม้ไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินถูกผิดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นเสียงจากผู้บริโภคที่เสพความบันเทิง และสะท้อนออกมาว่าเขารู้สึกอย่างไร สิ่งที่พวกเขาเสพนั้นถูก ผิด ชั่วดีอย่างไร  อาจจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นแล้วว่า สังคมไทยอยากให้เกิดการพัฒนาอะไรบ้าง นี้อาจจะเป็นอีกสาเหตุของคำพูดติดปากของคนไทยในตอนนี้ว่า ไม่ได้ดูละครไทยมานานแล้ว เพราะเนื้อหาก็เหมือนเดิม อาจจะถึงเวลาที่ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญต่อการพัฒนามากขึ้น เพื่อสู่สิ่งดีที่กว่า 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

usnews

sciencedaily

cybercollege

aacap

asc.upenn.edu

กรมสุขภาพจิต

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube