fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

ถอดบทเรียนโควิดคร่าชีวิต”น้าค่อม ชวนชื่น”

ถอดบทเรียนโควิดคร่าชีวิต”น้าค่อม ชวนชื่น”(click ดูวิดีโอ)

นับว่าเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญแห่งวงการตลกครั้งยิ่งใหญ่ สำหรับการเสียชีวิตของ น้าค่อม ชวนชื่น หรือชื่อจริง “อาคม ปรีดากุล” ที่จากไปอย่างสงบเมื่อช่วงเช้าวันนี้ หลังติดเชื้อโควิด-19 โดย ไอซ์ ณพัชรินทร์ ลูกสาวของน้าค่อมได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า “คุณพ่อหลับสบายแล้วนะคะ” ทำให้บรรดาแฟนคลับและคนในวงการบันเทิงต่างร่วมแสดงความอาลัยกับการจากไปของน้าค่อม ในครั้งนี้

หากย้อนไทม์ไลน์ อาการป่วย ของ “น้าค่อม ชวนชื่น” ที่ทราบว่าตัวเองติดโควิด19 และเข้ารับการรักษา ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. หลังจากน้าค่อมทราบว่า บอล เชิญยิ้ม ติดโควิด เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ทาง ครอบครัว ได้พาน้าค่อม ไปตรวจโควิดทันที แต่ทาง รพ. แจ้งว่า น้ำยาตรวจหมด และได้รับการตรวจในวันที่ 11 เม.ย. และตรวจทั้งครอบครัว รวม 11 คน

ช่วงเย็นวันที่ 12 เม.ย. 64 ทาง รพ. แจ้งผล ว่า น้าค่อม ติดโควิด
วันที่ 17 เม.ย. 64 ปอดน้าค่อมเป็นฝ้าหนา จึงย้าย รพ. เข้าห้อง ICU
วันที่ 18 เม.ย. 64 น้าค่อม มีอาการเหนื่อย มีภาวะออกซิเจนต่ำ
วันที่ 19 เม.ย. 64 พูดช้าลง มีอาการเหนื่อย ออกซิเจนต่ำ แพทย์พาไปทำ CT สแกน
วันที่ 20 เม.ย. 64 น้าค่อม มีอาการเชื้อลงปอด ส่วนภรรยาของน้าค่อม (แม่เอ๋) ได้รับการยืนยันว่าติดโควิด-19
วันที่ 22 เม.ย. 64 น้าค่อม มีอาการปอดอักเสบมาก และมีอาการหนักลงไปอีก คือ ไตวาย
และวันที่ 29 เม.ย. 64 ไอซ์ ณพัชรินทร์ ลูกสาวของน้าค่อม โพสต์ อัพเดทอาการว่า น้าค่อมอยู่ในภาวะโคม่าอวัยวะหลายอย่างล้มเหลวรวมถึงการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะชีพจรกับความดันร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น กระทั่งล่าสุด ช่วงเช้าวันนี้ (30 เม.ย.) น้าค่อม เสียชีวิตลงอย่างสงบ

การเสียชีวิตของน้าค่อม จากโรคโควิด-19 ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนเป็นวงกว้างที่ใคร ๆ ต่างให้ความสนใจ และต้องกลับมาตระหนักเกี่ยวกับโรคนี้กันอย่างเข้มข้นจริงจัง

นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเห็นวถึงกรณีการเสียชีวิตของ น้าค่อม ชวนชื่น โดยระบุถึงปัจจัย ที่ทำให้เสียชีวิต ว่า ในช่วงระยะ 7 วันอันตราย ต้องเฝ้าระวังหลังจากป่วยให้ดี เพราะอาการของโรคจะปรากฏขึ้นในช่วง 7 วันหลังด้รับเชื้อ ดังนั้น เมื่อสงสัยว่า ตัวเราอาจติดโควิด-19 ควรรีบตรวจหาเชื้อ เมื่อพบว่าตนเองติดเชื้อ ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพราะยิ่งถึงมือหมอไว เท่าไหร่ ก็อาจจะช่วยให้รักษาหาย แต่สำหรับบางคน หากมีปัจจัยของโรคประจำตัว ก็อาจจะหายยากขึ้น โรคประจำตัวหลายอย่างอาจทำให้อาการทรุด ซึ่งโรคประจำตัวถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 น้าค่อม เอง มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน เส้นเลือดสมองตีบ และเชื้อโควิดได้ลงปอด ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายตามหลัง จากนั้นอาการก็แย่ลงเรื่อย ๆ อวัยวะหลายอย่างเริ่มไม่ทำงาน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ น้าค่อม ในเฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant ว่า ในเรื่องการเสียชีวิตของน้าค่อม มีอุทาหรณ์ให้เราต้องเรียนรู้และทบทวน เกี่ยวกับมาตรการโรค covid-19 โดย รัฐต้องเน้นย้ำและเข้มงวดเรื่องการปกป้อง “กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง” จะเจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต จากการติดเชื้อโรค covid-19 นั่นคือกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน หัวใจ โรคอ้วน เป็นพิเศษการฉีดวัคซีนโรค covid-19 นั้น เป้าหมายขนาดนี้คือป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต จึงควรเร่งฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เร็วขึ้นกว่าแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างและรวดเร็วมากกว่าที่เคยคาดไว้เยอะ

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube