fbpx
Home
|
ข่าว

ครม.อนุมัติมาตรการเยียวยาแรงงาน6จังหวัด

Featured Image
คณะรัฐมนตรี อนุมัติมาตรการเยียวยาแรงงานและผู้ประกอบการ 6 จังหวัด เป็นเวลา 1 เดือน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2564 – 2565 เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ แผนระยะสั้นขึ้นเป็นกรณีพิเศษ มุ่งบรรเทาปัญหาและฟื้นฟูธุรกิจ SME ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ จากการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563 ทำให้ขาดรายได้ ขาดสภาพคล่อง ประกอบด้วย 3 แนวทาง/ประเด็นพัฒนาสำคัญ ได้แก่

แนวทางที่ 1 บรรเทาปัญหาและฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เน้นการช่วยเหลือด้านการเงิน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้แก่ 1 ส่งเสริมให้มีแหล่งเงินทุนสำหรับ SME ในกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก จัดให้มีกองทุนพิเศษให้สินเชื่อแก่ SME 2. สร้างโอกาสในการขายและการขยายตลาด เช่น ขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม SME เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้เป็นรูปธรรม ส่งเสริม SME เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของภาคธุรกิจ 3. เสริมสร้างความรู้และทักษะอาชีพให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น เสริมสร้างทักษะเบื้องต้นในการประกอบธุรกิจและส่งเสริมการฝึกอาชีพ เสริมทักษะใหม่แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบที่ถูกลดระยะเวลาการทำงานและถูกเลิกจ้าง เป็นต้น

แนวทางที่ 2 การสร้างความพร้อมให้ SME ในการเข้าสู่การแข่งขันในบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ อาทิ 1. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและธุรกิจ

แนวทางที่ 3 การปรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้เกิดความสะดวกแก่ SME อาทิ ปรับแก้กฎหมายและวิธีปฏิบัติให้เอื้อและลดอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ เช่น ศึกษาทบทวนนโยบายด้านภาษีให้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการพัฒนา SME นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน พัฒนาฐานข้อมูล SME (SME Big Data) สำหรับใช้ในการกำหนดนโยบาย เช่น มีศูนย์กลางข้อมูล SME ที่ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการหรือขอรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เชื่อมโยงข้อมูลด้าน SME ที่สำคัญของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศบค.ฉบับที่ 25 โดยจะให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร ในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากประกาศคำสั่ง คือ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักโรงแรมและบริการด้านอาหาร กิจการศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ และกิจกรรมบริการด้านอื่นๆตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยจะให้ความช่วยเหลือระยะเวลา 1 เดือน

ทั้งนี้ ในส่วนของกิจการก่อสร้างเป็นในส่วนของการก่อสร้าง อาคาร ที่พักอาศัย ถนน สาธารณูปโภคทั้งหมดที่มีการจัดตั้งแคมป์คนงาน ส่วนกิจกรรมและการบริหารด้านอื่นๆจะรวมถึงกิจกรรมด้านการซ่อม เช่น ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ ร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ร้านซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน ร้านซ่อมรองเท้า ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมเครื่องหนัง ซ่อมนาฬิกา ซ่อมเครื่องแต่งกาย ซ่อมจักรยานยนต์ รวมไปถึงกิจการสปา กิจกรรมลดน้ำหนัก การแต่งผมดูแลความงามแต่งเล็บมือเล็บเท้า และกิจกรรมในการดูแลสัตว์เลี้ยงทั้งหมด ที่จะได้รับการเยียวยาในครั้งนี้ด้วย

  • แรงงานที่อยู่ในระบบประกันตนตามมาตรา 33 ที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม 2,000 บาท ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการช่วยเหลือในระบบประกันตนที่มีอยู่แล้ว
  • ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างที่มีอยู่ในอัตรา 3,000 บาทต่อหัว สูงสุดไม่เกิน 200 ราย (ต่ำสุด 3 พันบาทสูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาท) ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่มีลูกจ้างให้ลงทะเบียนในแอปพลิเคชันถุงเงินผ่านโครงการคนละครึ่งให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือจำนวน 3,000 บาท
  • สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มในโครงการคนละครึ่งที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยจะได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 3,000 บาท เช่นเดียวกัน ซึ่งในแอปพลิเคชันเป๋าตังจะมีการแยกประเภทร้านอาหารที่ชัดเจน

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมครม.ให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามแผนเดิมที่อนุมัติโครงการไว้ก่อนหน้านี้เช่นโครงการเพิ่มกำหนดซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในระยะที่ 3 โครงการคนละครึ่งในระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ตามกำหนดเวลาเดิมเดือนกรกฎาคม พร้อมมอบให้กระทรวงแรงงานประสานขอความร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย สมาคมภัตตาคารอาหารไทย ดูแลแรงงานที่พักอาศัยชั่วคราวอยู่ภายในแคมป์

ส่วนมาตรการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการในระยะต่อไปให้พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างให้ลงทะเบียนในระบบประกันสังคม พร้อมมอบหมายให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบการให้การช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ต่อไปในอนาคต

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube