fbpx
Home
|
ทั่วไป

รู้จักวัคซีนโควิดก่อนฉีด มีกี่ชนิด ตัวไหนดีที่สุด ในไทยฉีดกี่ตัว

Featured Image

          จากสถานการณ์ โควิด 19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกเป็นเวลา 2 ปี  มีผู้ติดเชื้อรวมประมาณ 155 ล้านคน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 3 ล้านคนนั้น  “วัคซีน” คือคำตอบเดียวที่บรรดาคุณหมอ และนักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจะสามารถหยุดยั้งเชื้อไวรัสมหาภัยนี้ได้ แต่ก็เชื่อว่าหลายคนยังสับสนและยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนมากนักว่าทั่วโลกมีวัคซีนโควิด กี่ประเภท กี่ตัว แล้วตัวไหนดีที่สุด

          ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยระบุไว้ วัคซีนโควิด มีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท  

          1.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (mRNA vaccines)

          เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันอีโบล่า สำหรับโควิด 19 นี้ ผลิตขึ้นจากการใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ได้รับการยอมรับและมีเปอร์เซ็นต์สูงที่สุด

          วัคซีนใช้เทคโนโลยีนี้ คือ BioNTech/Pfizer และ Moderna

           2.วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccines) 

          โดยใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ (ไม่ทำให้เราป่วย) หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ วัคซีนประเภทนี้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ 

          วัคซีนใช้เทคโนโลยีนี้ คือ Johnson & Johnson,  Oxford – AstraZeneca  และ Sputnik V

           3.วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein-based vaccines) 

          จะใช้โปรตีนบางส่วนของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา เทคนิคนี้ใช้กันมานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนตับอักเสบชนิดบี  Novavax 

          *ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนโควิดที่ใช้วิธีนี้

           4.วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines) 

          จะผลิตจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เป็นเทคนิคที่เคยใช้กับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอ หรือวัคซีนโปลิโอ ผลิตได้ช้าและมีต้นทุนการผลิตที่สูง

          วัคซีนใช้เทคนิคนี้ คือ Sinovac และ Sinopharm

           สำหรับ บริษัท หรือวัคซีน ที่ได้รับการอนุมัติ และใช้กันแล้วในหลายประเทศ ทั้งชนิดที่ได้รับอนุมัติทะเบียนอย่างสมบูรณ์จากองค์กรของนานาชาติ และชนิดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้กรณีฉุกเฉิน ของแต่ละประเทศมีดังนี้

รู้จักวัคซีนโควิดก่อนฉีดนั้นมีกี่ชนิด

  1. Pfizer-BioNTech (สหรัฐฯ) ฉีด 2 เข็ม
  2. Moderna (สหรัฐฯ) ฉีด 2 เข็ม
  3. Sputnik V (รัสเซีย) ฉีด 2 เข็ม
  4. AstraZeneca (อังกฤษ) ฉีด 2 เข็ม
  5. Sinovac (จีน) ฉีด 2 เข็ม
  6. Sinopharm (จีน) ฉีด 2 เข็ม
  7. Johnson & Johnson (สหรัฐฯ) ฉีด 1 เข็ม
  8. Novavax (สหรัฐฯ) ฉีด 2 เข็ม
  9. Cansino Biologics (จีน) ฉีด 1 เข็ม
  10. Covishield (อนเดีย) ฉีด 2 เข็ม

          ประเทศไทยฉีดอะไรไปแล้วบ้าง

          สำหรับประเทศไทย ที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิดมาตั้งแต่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น

  1. แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca)  โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 10 – 12 สัปดาห์ และเป็นวัคซีนหลักที่รัฐบาลจัดหามาบริการประชาชน
  2. ซิโนแวด (CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine) เป็นวัคซีนที่กำหนดให้ฉีดผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์

          อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลขององค์การอาหารและยา (อย.) มีวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย หรือได้รับการรับรองจาก WHO หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแล้วทั้งสิ้น 7 ชนิด

วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของประเทศไทย

  1. CoronaVac ของบริษัท Sinovac
  2. วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท AstraZenaca/Oxford
  3. วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท Siam Bioscience /AstraZeneca/Oxford
  4. วัคซีน Ad26.COV2.S ของบริษัท Johnson & Johnson
  5. วัคซีนโทซินาเมแรน (Tozinameran) ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค
  6. วัคซีน Covishield ของ Serum Institute of India
  7. วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna

          อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าวัคซีนทำให้ชีวิตเริ่มกลับมาเป็นเหมือนเดิม ในหลายประเทศเริ่มให้ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนในประเทศไทยก็กำลังเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังตั้งคำถามและขับดันอย่างมากเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ไวที่สุด 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube