fbpx
Home
|
ทั่วไป

เช็คด่วน ข่าวปลอมช่วงโควิด

Featured Image

          ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 นั้นมีการเผยแพร่ข่าวปลอมหรือข่าวที่บิดเบือนไปจากความจริง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและอาจจะเกิดความเข้าใจผิดได้ ทางสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น เป็นอีกหนึ่งช่องทางและเป็นอีกหนึ่งสื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่ถูกต้องให้แก่สังคม โดยในวันนี้เราได้รวบรวมข่าวปลอมที่ถูกแชร์และเข้าใจผิดกันเป็นจำนวนมากมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

          1.สังเกตอาการ Covid-19 จาก สธ. วันต่อวัน

          ข่าวนี้ถูกส่งต่อกันอย่างมากมาย โดยเนื้อหาจะแสดงถึงการสังเกตอาการโควิดวันต่อวัน เช่น วันที่ 1-3 มีอาการคล้ายหวัด ปวดในคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย กินดื่มปกติ วันที่ 4 เริ่มเจ็บคอเล็กน้อย จนไปถึงวันที่ 9 หากเจอข่าวในลักษณะนี้คือข่าวปลอม กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลแต่อย่างใด 

          ให้ประชาชนสังเกตอาการโดยดูจากอาการ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และดูปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ติดตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่

          2.เช็คอาการโควิดโดยการสูดหายใจลึกๆแล้วกลั้นหายใจ 10 วิ

          วิธีการตรวจเช็คแบบนี้ก็เป็นข่าวปลอม การตรวจสอบอาการติดเชื้อโควิดในปอดนั้นต้องตรวจโดยแพทย์เท่านั้น 

          3.ฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิดได้ 

          ฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโควิดได้นั้นเป็นข่าวปลอม ข่าวฟ้าทะลายโจรนี้เองทำให้ประชาชนแห่ไปซื้อมากักตุนเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีหลักฐานใดๆชี้ว่าสามารถช่วยป้องกันได้ ส่วนฟ้าทะลายโจรนั้นมีการนำไปรักษาตามอาการเท่านั้น นอกจากนี้หากรับประทานมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อการทำงานของตับและไตอีกด้วย 

          4.ซื้อชุดตรวจโควิด – 19 แบบ Rapid Test มาตรวจเองได้

          ในช่วงที่เกิดการระบาด ประชาชนจำนวนมากเกิดความกังวลและพยายามหาวิธีตรวจโควิด-19 และก็มีข่าวว่าสามารถซื้อชุดตรวจโควิด แบบ Rapid Test มาตรวจเองได้ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขก็ออกมาแจ้งแล้วว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะผลอาจจะไม่ถูกต้อง และไม่อนุญาตให้ขายชุดตรวจดังกล่าว ต้องมาตรวจและทราบผลจากบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น 

          5.อาบน้ำด้วยน้ำร้อน 41 องศาเซลเซียส ป้องกันการติดเชื้อโควิด เป็นข่าวปลอม

          6.บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ น้ำยาบ้วนปาก เพื่อฆ่าเชื้อโควิด เป็นข่าวปลอม 

          7.น้ำมะนาวฆ่าเชื้อโควิดหรือฆ่าเชื้อมะเร็ง เป็นข่าวปลอม

          8.อดีตนักวิจัยของบริษัท Pfizer เผยวัคซีนของ Pfizer ฉีดแล้วตาย เป็นข่าวปลอม 

          ในช่วงเวลาแบบนี้การคัดกรองข่าวเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรใช้สติและควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวให้แน่นอนก่อนเพื่อความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้อื่น เพื่อป้องกันความตื่นตระหนกที่อาจเกิดขึ้นได้ ทางสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น ขอเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยแก้ไขข่าวปลอมที่เกิดขึ้น ติดตามข่าวด่วนก่อนใครได้ที่ INN NEWS

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล 

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

jessada.denduangboripant

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube