fbpx
Home
|
ทั่วไป

วิกฤตเตียงโควิดกทม.ยังน่าห่วง-ต่างจังหวัดยังรับได้

Featured Image
กระทรวงสาธารณสุข เผย วิกฤตจำนวนเตียง กทม.ยังน่าห่วง ส่วนเตียง ต่างจังหวัดยังรองรับได้

นพ.วิฑูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน เปิดเผยถึงการบริหารจำนวนเตียงในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งการบริหารเตียงนั้นพ่วงด้วยหลายปัจจัย เช่น ชนิดของเตียง และบุคลากรในการดูแล ซึ่งในการบริหารจัดการเตียงมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.จำนวนเตียงที่มีอยู่ และ 2.การบริหารจัดการในการนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการการรักษา ซึ่งต้องสัมพันธ์กัน โดยทาง สธ. พยายามจะแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ นพ.วิฑูรย์ ได้เปิดเผยถึงปัญหาของจำนวนเตียงที่วิกฤตในขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. ว่า เหลือจำนวนเตียงที่รองรับจำนวนไม่มาก อย่างไรก็ตาม ได้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบางส่วนกลับภูมิลำเนาไปบ้างแล้ว จากนั้นทั่วประเทศต้องติดตามสถานการณ์เรื่องของจำนวนเตียงไม่ให้เกิดปัญหาและเพียงพอด้วย

สถานการณ์ของเตียงในเขตพื้นที่ กทม.
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียว
  • Cohort ของโรงพยาบาลสนาม ว่าง 500 เตียง คิดเป็น 20% ส่วน Hospitel ว่าง 4,201 เตียง คิดเป็น 24%
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง
  • Cohort ของโรงพยาบาล ว่าง 415 เตียง คิดเป็น 6 % ส่วน Isolation room ว่าง 449 เตียง คิดเป็น 13%
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเแดง
  • พบว่า AIIR ว่าง 31 เตียง คิดเป็น 14% , Modified AIIR ว่าง 49 เตียง คิดเป็น 9% และ Cohort ICU ว่าง 37 เตียง คิดเป็น 11%

 

สถานการณ์เตียงทั่วประเทศยกเว้น กทม. คงเหลือ ดังนี้
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียว
  • Cohort ของโรงพยาบาลสนาม ว่าง 11,423 เตียง คิดเป็น 42% ส่วน Hospitel ว่าง 5,116 เตียง คิดเป็น 38%
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง
  • Cohort ของโรงพยาบาล ว่าง 5,449 เตียง คิดเป็น 18% ส่วน Isolation room ว่าง 3,752 เตียง คิดเป็น 25%
เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเแดง
  • พบว่า AIIR ว่าง 140 เตียง คิดเป็น 29%% , Modified AIIR ว่าง 645 เตียง คิดเป็น 29% และ Cohort ICU ว่าง 267 เตียง คิดเป็น 31%

 

 

นพ.วิฑูรย์ ยังกล่าว สธ. ได้ติดตามจำนวนเตียงทั่วประเทศตามเขตสุขภาพ เพื่อให้การบริหารจัดการมีความรัดกุมและมีความชัดเจน ซึ่งทาง สธ. ได้แบ่งเขตสุขภาพเป็น 12 เขต ได้ติดตามพบว่าเขตสุขภาพหลายแห่งเริ่มใช้ไปแล้วมากกว่า 80% และพบว่าสำหรับจำนวนเตียงในการดูแลผู้ป่วยสีแดงทั่วประเทศไม่รวม กทม. ยังมีเพียงพอสำหรับการรักษา

ส่วนผู้ป่วยในพื้นที่ กทม. หากต้องการกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาสามารถติดต่อ สปสช. ได้โดยโทร. 1330 ซึ่งจะมีการจัดหารถเพื่อส่งกลับอย่างปลอดภัย และเกิดการเคลื่อนย้ายอย่างดีที่สุด

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube