คำพูดที่ไม่ควรพูดกับ LGBTQ+

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเพศ การเข้าใจ และเคารพความแตกต่าง เป็นสิ่งความสำคัญมาก แม้จะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังเจอกับคำพูดทำร้ายจิตใจอยู่ไม่น้อย
บางคำพูดอาจไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนความไม่เข้าใจ ความอยากรู้ อยากถาม อาจสร้างบาดแผลทางใจให้กับคนฟังไม่รู้ตัวก็เป็นได้
จึงอยากจะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ คำที่พูดที่ไม่ควรพูดกับ LGBTQ+ และทำไมคำเหล่านั้นควรหลีกเลี่ยงไปดูกันเลยค่ะ
เสียดายที่เป็น LGBTQ+
“เสียดาย…ไม่น่าเป็นเกย์เลย” ประโยคนี้อาจฟังดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจทำร้ายใครเพราะคนพูดมักพูดออกมาด้วย น้ำเสียง “เสียดายแบบชื่นชม” แต่คำพูดเชิงเสียดาย
มันแสดงออกถึงอคติว่า LGBQ+ คือสิ่งที่ ไม่ควรจะเป็น โดยเฉพาะถ้าคนนั้นดูดี มีเสน่ห์
แล้วยังทำให้รู้สึก ผิดหวังต่อความคาดหวังของคนอื่น เพียงเพราะเขาไม่ได้เป็นในแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ทั้งที่จริงแล้วรสนิยมทางเพศไม่เกี่ยวกับคุณค่า หรือความสามารถของใครเลย
เป็นเพศอะไรกันแน่?
การถามคำถามเชิง เป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ฟังดูเหมือนมาจากความสงสัยหรืออยากจะเข้าใจ แต่ในความจริงมันเป็น อาจสร้างความอึดอัดและทำร้ายความรู้สึกของคนที่ถูกถามไม่รู้ตัว เหมือนเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวอยู่เหมือนกัน
โดยเฉพาะ คนข้ามเพศ (transgender) หรือ คนไม่ระบุเพศ ( non-binary) มันสื่อถึงความไม่เชื่อในสิ่งที่เขาเป็น ราวกับว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จำเป็นต้องพิสูจน์ตัวเองให้คนอื่นเห็น
การถามแบบนี้เท่ากับว่าเรากำลัง พยายามยัดเขากลับเข้า “กรอบ” ที่เขาอาจเคยเจ็บปวดจากมันและเป็นการปฏิเสธความหลากหลายของผู้คนโดยไม่รู้ตัว
สิ่งที่ ต้องการจากสังคม ไม่ใช่การรู้ว่าเขาเคยเป็นอะไรมาก่อนแต่คือการได้รับปฏิบัติเหมือนมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้นเอง และนั่นเองก็เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรถาม เป็นเพศอะไรกันแน่
ใครรุก ใครรับ
อย่างแรกเลยเป็นคำถามที่ เจาะจงเรื่องเพศสัมพันธ์มากเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวสุดๆ เว้นแต่เจ้าตัวยินยอมจะเปิดเผยเอง เพราะคำถามแบบนี้มักแฝงแนวคิดที่ว่า ต้องมีอีกคนเหมือนผู้ชาย แล้วอีกคนหนึ่งเหมือนผู้หญิง
ซึ่งในความสัมพันธ์แบบ LGBTQ+ ไม่จำเป็นต้องมีความจำกัดความให้อยู่ในบทบาทแบบชายหญิงเลย เพราะความสัมพันธ์มันไม่ต้องอยู่แค่นี้กรอบที่ใครคิดไว้
แล้วการถามเรื่องแบบนี้แทบไม่มีใครถามกันเลย เพราะมัน เป็นเรื่องที่เสียมารยาท แต่ทำไมพอเป็น LGBTQ+ ถึงต้องเปิดเผยเรื่องเดียวกันโดยไม่เต็มใจด้วยละ?
ไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบไหน ไม่ก็ไม่จำเป็นต้องแบ่งว่าใครทำอะไรเลยในความสัมพันธ์ เพราะสุดท้ายแล้วมันเกิดจากความเข้าใจ และเลือกที่จะเดินไปด้วยกัน
ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าใครเป็นอะไร เพื่อที่จะเข้าใจในความสัมพันธ์ของของใคร นอกจากจะดูเสียมารยาทแล้วยังดูไม่น่ารักในสายตาคนของคนอื่นอีกด้วย
ทำไมถึงเป็น…
การถามว่า ทำไมถึงเป็น เช่น “ทำไมถึงเป็นเกย์” หรือ “ทำไมถึงแปลงเพศ” มีนัยแฝงว่า การเป็นแบบนี้ไม่ใช่เรื่องปกติเลยอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ซึ่งคำถามแบบนี้หลายคนชอบคิดว่าเป็นธรรมดา หรือเป็นคำถามเชิงสงสัย แต่ที่จริงแล้ว คำถามเหล่านี้ไม่ควรถาม ในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้สนิทกัน
การเป็น LGBTQ+ ไม่ได้เกิดจากเหตุผล มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวตน ฉะนั้นการที่มีคนมาถามแบบนี้จะทำให้สร้าง แรงกดดัน การมีอยู่ของตัวเอง ทั้งที่คนทั่วไปไม่เคยต้องมาอธิบายอะไร
แล้วมันยังสะท้อนถึงมุมมอง ละเมิดความเป็นส่วนตัวและสร้างความไม่เท่าเทียมโดยคนถามไม่รู้ตัวอีกด้วย
คำถามเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับสร้างแรงกดดันให้กับ LGBTQ+ อย่างมาก เพราะเป็นเหมือนกับการตั้งคำถามในตัวเอง และ ต้องมานั่ง อธิบายตัวตนให้คนอื่นฟัง
ซึ่งการเคารพในพื้นที่ของกันหรือเข้าใจในความแตกต่าง มันเริ่มจาก ไม่ละเมิดด้วยคำพูด และไม่ตั้งคำถามที่ทำให้ใครรู้สึกไม่ดี นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเท่าเทียมในสังคมแล้วค่ะ
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews