fbpx
Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

ใครผิด…คนจองฉีดวัคซีนน้อย

ใครผิด…คนจองฉีดวัคซีนน้อย

ผ่านไปแล้ว 10 วัน ของการลงทะเบียนฉีด วัคซีน ทั้งระบบแอพลิเคชั่น “หมอพร้อม” และไลน์ หรือ การวอล์คอิน ไปจองยังสถานพยาบาล
ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าไว้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่ม รวมประมาณ 16 ล้านคน แต่ปรากฏว่า ยอดจองรับวัคซีนทั้งประเทศ มีเพียง 1.6 ล้านกว่าๆ เท่านั้นและมีแค่ กรุงเทพมหานคร กับ ลำปาง ที่มีประชาชนลงทะเบียนเกินหลักแสน ส่วนที่เหลืออีก 75 จังหวัด แบ่งเป็น 22 จังหวัด หลักหมื่น และ 53 จังหวัดแค่หลักพัน

จึงมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น ในเมื่อทั่วโลกต่างรู้ดี โควิดอันตรายแค่ไหน ต้องการฉีดวัคซีนกันมากแค่ไหน แต่ทำไมคนไทยกลับปฏิเสธ คนไทยไม่ยอมจองคิวเข้ารับวัคซีนด้วยเหตุผลใด ผู้สูงอายุจองผ่านระบบแอปพลิเคชั่นไม่ได้ หรือไม่เชื่อมั่นในตัววัคซีน

 

ซึ่งรัฐมนตรี สาธิต ปิตุเตชะ ยอมรับกับ สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ปัญหาหลักที่ยอดจองน้อยคือความไม่เชื่อมั่นของประชาชน ดังนั้น เวลาที่เหลืออยู่ก่อนที่วัคซีนจะมาถึง และเริ่มฉีดตามแผนของรัฐบาล คือ เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป ซึ่งตั้งเป้าต้องฉีดให้คนไทยอย่างน้อย 50 ล้านคน หรือ 100 ล้านโดส ภายในปีนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

ใครต้องรับผิดชอบ ใครต้องปรับปรุงการทำงาน เพื่อให้ผู้สูงอายุ และบุคคลมีโรคประจำตัว หรือแม้แต่กลุ่มบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไปที่จะต้องลงทะเบียน เกิดความเชื่อมั่น และจองคิวฉีดวัคซีนกันมากขึ้น

ตัวบุคคล หรือ องค์กรเหล่านี้ คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ คือผู้ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายๆส่วน
ได้พยายามทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ทุกพื้นที่อย่างรวดเร็วเพื่อให้ประชาชน มาจองวัคซีนแล้ว

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เผยยอดจองฉีด วัคซีนโควิด-19 แค่1.6ล.

แต่ผลที่ออกมา เมื่อมีการจำแนกเป็นรายจังหวัด มี แค่ ลำปาง ซึ่งคงไม่ใช่จังหวัดเกรดเอ เบอร์ใหญ่ของภูมิภาค กับกรุงเทพฯ เท่านั้น ที่มียอดจองสูงเป็นหลักแสน… ไม่ได้ต้องการกล่าวหา หรือ เรียกร้องให้ใครรับผิดชอบ แต่อีก 75 จังหวัด บุคลากรในท้องที่ ตั้งแต่สูงสุดคือพ่อเมือง ไล่เรียงกันลงไปในแต่ละตำแหน่ง จนถึงผู้ใหญ่บ้าน โดยเฉพาะ 53 จังหวัดแค่หลักพัน “มท.1 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา” และ 2 รัฐมนตรีช่วย ที่เป็นนักการเมือง กำกับดูแลกลไกเหล่านี้อยู่คงต้องทบทวนอะไรบางอย่างบ้าง ต้องมีมาตการอะไรกระตุ้นลงไปบ้าง จะเช้าชาม เย็นชามในยามวิกฤต ปล่อยให้ซีกบุคลการการแพทย์ทำงานเชิงรุกอยู่ข้างเดียวคงไม่ได้เพราะแต่ละจังหวัดล้วนมีบุคลากร และกลไกที่เหมือนๆกัน หากกลไกทุกอย่างเดินได้พอๆกัน ผลลัพธ์ย่อมไม่ควรแตกต่างกันราวฟ้ากับเหวเช่นนี้ ….

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube