fbpx
Home
|
ข่าว

“เสรี” ฉะนักการเมือง นักวิชาการทำสังคมแตกแยก

Featured Image
“เสรี” ห่วงสังคมแตกแยก ฉะนักการเมือง นักวิชาการ พยายามที่จะสร้างสถานการณ์ เชื่อทางออกปัญหาโยงกับเรื่องการเมืองและรัฐธรรมนูญ

 

 

 

นายเสรี สุวรรรภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน อภิปรายความคืบหน้าการในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ว่า ความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงมายาวนาน แต่ในทางการเมืองนั้นไม่มี เพราะมีการแข่งขันกันอยู่แล้ว

 

แต่ในทางสังคมเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะการจะสร้างความสามัคคีปรองดองไม่ได้เป็นเรื่องที่จะสร้างกันได้ง่าย เนื่องจากจะมีนักการเมือง นักวิชาการ และประชาชนส่วนหนึ่งพยายามที่จะสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องไปพิจารณาดูว่าจะต้องหาทางออกอย่างไรที่จะลดปัญหาความขัดแย้งให้ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไปโยงกับเรื่องทางการเมืองและรัฐธรรมนูญ

 

ทั้งนี้ ในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป ว่า เวลาผ่านมาพอสมควร การพัฒนาเฉพาะในส่วนของรัฐธรรมนูญอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตนว่ามันอาจจะถึงเวลาที่จะต้องหันหน้ามาคุยกันทุกฝ่าย ว่าในสภาพปัญหาของประเทศในปัจจุบันที่เกิดความแตกแยก ไม่ปรองดองสามัคคีที่เกิดจากปัญหาทางการเมืองเป็นหลัก

 

โดยที่นักการเมืองพยายามที่จะเอาประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นพวกของคัวเอง แล้วก็ให้ประชาชนเผชิญหน้าต่อสู่กันเอง แล้วก็ไม่ยอมรับในกติกาสูงสุดของแระเทศคือรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้หากมองย้อนกลับไปให้ดี ตอนแรกเราก็ไม่อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแต่มันก็เป็นปัญหาในทางการเมืองที่แสดงออกกันไป

 

ซึ่งในช่วงเวลา 5 ปี ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้ทำหน้าที่สำคัญหลายเรื่อง ทว่าไปแล้วเรื่องสำคัญก็คือให้ ส.ว. ชุดนี้ 250 คน มีหน้าที่ตั้งรัฐบาล แต่ในช่วงระยะเวลา 5 ปีนั้น มันก็ต้องมีคนไม่พอใจ และนี่คือความขัดแย้ง ดังนั้นเมื่อผ่าน 5 ปีไปแล้วอยากจะเสนอแนะว่าควรตั้งหลักให้ดีว่าเราจะทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชนทุกฝ่าย ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก็คือ ควรที่จะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจาก ส.ว. ชุดนี้ครบ 5 ปีไปแล้ว

 

ทำหน้าที่ให้เต็มที่แล้วก็มาตั้งหลักกัน เริ่มต้นกันให้ดี มันก็จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม หรือจะให้ไปตั้ง ส.ส.ร.ร่างเมื่อครบ 5 ปีแล้วก็ถือว่าสถานการณ์นั้นพอสมควรแก่เหตุ แต่ถ้ายังไม่ครบ5ปี ตนว่า ส.ว.ชุดนี้แหละคือชุดที่ต้องรับผิดชอบต่อบ้านเมือง รับผิดชอบต่อสถานการณ์วิกฤตในประเทศที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นในทางการเมืองเองเราก็ไม่ควรไปกังวลว่าใครจะติฉินนินทาว่ากล่าวให้ร้ายอย่างไร

 

แต่มันเป็นหน้าที่ของ ส.ว.ชุดนี้ และในคณะกรรมาธิการของตนก็พยายามติดตามเรื่องนี้ และก็พยายามมองว่ามันน่าจะถึงเวลาที่จะมีการทบทวนดูรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube