fbpx
Home
|
ทั่วไป

ศบค.เคาะเปิด ห้าง,ร้านอาหาร ข้ามจังหวัดได้เริ่ม1ก.ย.

Featured Image
ศบค. ยกระดับมาตรการควบคุมโรค ด้วยหลักการ COVID free settings พร้อมมติ เปิดห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เดินทางข้ามจังหวัดได้ เริ่ม 1 ก.ย.นี้

 

แพทย์หญิงอภิสมัยศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผย ภายหลังการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ครั้งที่ 13/2564 มาจากการพิจารณาข้อกำหนดฉบับที่ 30 มาตรา 9 ซึ่งประกาศตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.64 ในแง่การจัดระดับพื้นที่สถานะการย่อย โดยครบกำหนดการประเมินในวันที่ 31 ส.ค.64 ซึ่งที่ประชุมได้มีการพูดคุยกันในหลายประเด็น และในครั้งนี้ไม่ได้มีการปรับสีพื้นที่สถานการณ์และปรับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด มีการอนุญาตให้เปิดกิจการกิจกรรมเพิ่มเติมตามความพร้อมและความจำเป็น เพื่อให้ประชาชน สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมทั้งมีการพิจารณารอบด้านการเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาตามข้อเสนอของ ผู้ประกอบกิจการต่างๆ ทั้งสมาคมผู้ค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า สมาคมภัตตาคารไทย สภาหอการค้าไทย ที่ได้มีการพิจารณามาตรการอย่างเข้มงวดและรอบคอบหากต้องเปิดกิจการ กิจกรรม เพื่อให้อยู่ในความปลอดภัยสอดคล้องกับมาตรการ ควบคุมโรคและสถานการณ์แพร่ระบาด

ซึ่งถึงแม้จำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตในปัจจุบันจะยังไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่สภาพการนี้เป็นสถานการณ์โดยทั่วไปของประเทศต่างๆในโลกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป้าหมายการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในระยะต่อไป คือ การควบคุมโลกแนวใหม่ที่สมดุลกับการดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากโควิด-19 โดยมีแนวทางการควบคุม ได้แก่ พลิกมุมมอง ปรับกลยุทธ์ สร้างความมั่นใจ และฟื้นเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย ขณะที่การจัดพื้นที่เสี่ยงและควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด ที่ยังพบการแพร่ระบาดในวงกว้างในระดับชุมชน สถานประกอบกิจการ โรงงาน ตลาด แคมป์ก่อสร้าง รวมทั้งมีหอพักที่อยู่อย่างแออัด และมีการรายงานผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีการปรับพื้นที่โซนสี ยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยยังคงมาตรการที่เข้มงวด เพื่อให้การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องให้ได้ผล และเชื่อมั่นว่า ระบบสาธารณยังคงสามารถรองรับได้

ทั้งนี้ ยังคงมาตรการทางสังคม ทั้งในส่วนของ WFH และเคอร์ฟิวเหมือนเดิมใน 29 จังหวัดนี้ ยังคงอยู่อีกอย่างน้อย 14 วัน และมีการ ยกระดับมาตรการป้องกันโรค ส่วนบุคคลแบบครอบจักรวาล Universal Prevention รวมทั้งมาตรการองค์กร เพื่อลดผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิต

ในส่วนแรก คือ การยกระดับมาตรการควบคุมโรค เพื่อการเปิดกิจการและกิจกรรมให้ปลอดภัย และยั่งยืน ด้วยหลักการ Covid free settings และ Universal Precaution สำหรับสถานที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง

ส่วนที่ 2 คือ การเปิด และกิจการและกิจกรรม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้อยู่ภายใต้ มาตรการที่กำหนด 6 ประเภท ได้แก่ การเดินทางข้ามจังหวัด มาตรการของร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ กิจการกิจกรรมบางประเภท การใช้อาคารสถานศึกษา รวมทั้งการเปิดใช้สนามกีฬา โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้สามารถเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ซึ่งเน้นย้ำว่า ต้องเป็นการดำเนินการในพื้นที่นำร่องเฉพาะสถานประกอบการหรือสถานบริการที่มีความพร้อมมีการดำเนินการได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เช่น ร้านอาหาร พนักงานมีการฉีดวัคซีนครบถ้วนและสามารถหาชุดตรวจ ATK เพื่ออำนวยความสะดวกการตรวจพนักงานทุกสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ได้มีการผ่อนคลายให้ร้านอาหารกลับมาเปิดบริการนั่งทานที่ร้านได้ โดยร้านติดแอร์นั่งได้ 50% ส่วนร้านอาหารที่ไม่ติดแอร์ ให้นั่งได้ 75% ของจำนวนที่นั่งในร้าน เช่นเดียวกับ ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอล ร้านสะดวกซื้อต่างๆจะกลับมาเปิดให้เปิดตามปกติจนถึงเวลา 20.00 น.

ส่วนร้านเสริมสวย ร้านตัดผม ร้านนวด (เฉพาะฝ่าเท้า) เปิดได้ แต่คลินิกเสริมความงามเปิดได้เฉพาะจำหน่ายสินค้าเท่านั้น

ขณะที่ สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง เปิดได้ แต่อาคารในสถานศึกษา เปิดได้ตามการพิจารณาของคณะกรรมการสถานศึกษา

ส่วนสถานที่ยังเปิดไม่ได้คือ สถานศึกษา สถาบันกวดวิชา โรงภาพยนตร์ สปา สวนสนุก สวนน้ำ ฟิตเนส ห้องออกกำลังกายสระว่ายน้ำ ห้องประชุมห้องจัดเลี้ยงที่อยู่ในอาคาร

ขณะเดียวกันอนุญาติให้ เปิดบริการรถสาธารณะ แต่ต้องจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 75% และคนขับรถจะต้องได้รับวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และต้องปฏิบัติมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังผ่อนคลายให้ประชาชนสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้แต่ต้องความจำเป็นเท่านั้น และเคอฟิวตั้งแต่ 21.00 น. – 04.00 น. เดิม

 

ศบค. พบ ป่วยโควิดเพิ่ม 18,702 ราย สะสม 1,139,571 ราย ตายอีก 273 ราย ขณะฉีดวัคซีนทั่วประเทศรวม 29 ล้านโดส

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานตัวเลขสถานการณ์ประจำวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 18,702 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 18,360 ราย ผู้ป่วยในเรือนจำ 342 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 1,139,571 ราย รักษาอยู่ 185,200 ราย รักษาในโรงพยาบาล 22,528 ราย และโรงพยาบาลสนาม 162,672 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 5,154 ราย และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 1,082 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 943,784 ราย หายเพิ่ม 20,163 ราย เสียชีวิตใหม่ 273 ราย รวมเสียชีวิต 10,587 คน

ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 18,351 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 9 ราย เป็นการค้นหาเชิงรุก/โรงงานและในชุมชน 1,674 ราย ค้นหาเชิงรุกในเรือนจำ 342 ราย และเข้าระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 16,677 ราย

ด้านยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทยรวม 29,504,769 โดส สะสมแบ่งเป็นฉีดวัคซีนเข็มแรก 22,070,573 ราย เพิ่มขึ้น 400,618 ราย เข็มที่สองจำนวน 6,860,084 ราย เพิ่มขึ้น 263,299 ราย และเข็มที่สามสะสมจำนวน 574,112 ราย เพิ่มขึ้น 5,272 ราย

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศอะไรใหม่ 10 อันดับแรก แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 4,699 ราย, สมุทรปราการ 1,220 ราย, ชลบุรี 1,064 ราย, สมุทรสาคร 894 ราย, นนทบุรี 586 ราย, ปทุมธานี 525 ราย, นครราชสีมา 497 ราย, ราชบุรี 485 ราย, ระยอง 475 ราย และพระนครศรีอยุธยา 465 ราย

ทั้งนี้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อตามพื้นที่แบ่งเป็นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 8,262 ราย รวมสะสม 507,250 ราย, 4 จังหวัดภาคใต้ 886 ราย รวมสะสม 55,892 ราย และ จังหวัดอื่นๆ 67 จังหวัด 9,203 ราย รวมสะสม 488,739 ราย

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube