fbpx
Home
|
ข่าว

กต.ปัดผลักดันเมียนมาอพยพย้ำยึดสิทธิมนุษยชน

Featured Image
กต. ยืนยัน ไทยไม่มีนโยบายผลักดันผู้อพยพเมียนมา พร้อมดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน เตรียมพร้อมพาคนไทยกลับประเทศ หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงท่าทีไทยต่อสถานการณ์ในเมียนมาร์ว่า ประเทศไทยไม่สบายใจต่อการเสียชีวิตและการบาดเจ็บของประชาชนเมียนมา จึงอยากขอให้ทางการเมียนมาใช้ความอดทนในการดำเนินการและคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมทั้งให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมและให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกันผ่านการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์โดยเร็ว ซึ่งในส่วนของไทยกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับต่างประเทศ เพื่อให้เมียนมากลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เมียนมาซึ่งมีเสถียรภาพ ความเป็นปึกแผ่นที่ไม่ส่งผลกีต่อเมียนมายังส่งผลต่อนานาประเทศด้วย

ส่วนการให้ความช่วยเหลือคนไทยในเมียนมากระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ว่า สถานการณ์ยังมีการประท้วงอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ทางการไทยได้มีการจัดทำแผนการเตรียมพร้อมอพยพคนไทยแล้ว รวมถึงทุกฝ่ายได้ประชุมหารือติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และจากการประเมินสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่ถึงขันต้องอพยพคนไทยกลับประเทศ แต่หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นทางการไทยก็พร้อมที่จะอพยพคนไทยกลับประเทศ

สำหรับกรณีที่มีผู้หนีภัยความไม่สงบเข้ามาในประเทศไทยนั้น ยืนยันว่า ไทยได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอให้มั่นใจว่าไทยมีประสบการณ์ในการรับมือ รวมทั้งบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเตรียมพื้นที่ในการอพยพ และนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลซึ่งขณะนี้มีผู้อพยพเข้ามาในประเทศไทยทั้งสิ้น 2,788 คน มีผู้แสดงความจำนงขอกลับประเทศแล้ว 2,572 ยังเหลือเพียงกลุ่มเด็ก สตรี และคนชรา จำนวน 216 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564) และไทยไม่มีนโยบายในการผลักดันผู้อพยพอย่างแน่นอน โดยจะต้องดูแลตามหลักสิทธิมนุษยธรรม พร้อมย้ำว่า ผู้ที่เดินทางกลับไปเป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การผลักดัน

 

กต. เผย ไทยกำหนดมาตรการรูปแบบใหม่ เริ่ม 1 เม.ย.นี้ ขณะ อย.รับรอง วัคซีน 7 บริษัทแล้ว

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงมาตรการการอำนวยความสะดวกการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่าจาก มติ ของ ศบค. ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป ไทยได้กำหนดมาตรการกักตัวรูปแบบใหม่ ดังนี้

– ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่ไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ และมีเอกสารรับรองการฉีด
วัดซีนครบถ้วน (vaccine certificate) อาจพิจารณาให้กักกันตัวไม่น้อยว่า 7 วัน โดยต้องฉีดวัคชีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO หรือ อย. และฉีดวัคชีนครบถ้วนแล้วไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันเดินทาง
– ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่ไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ แต่ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัดซีน ต้องเข้ารับการกักกันตัวไม่น้อยกว่า 10 วัน ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์ ต้องเข้ารับการกักกันตัวไม่น้อยกว่า 14 วัน

โดยมี 11 ประเทศที่ยังมัเชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ได้แก่

– แอฟริกาใต้
– ซิมบับเว
– บอตสวานา
– แซมเบีย
– เคนยา
– รวันดา
– แคมารูน
– สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
– กานา
– แทนซาเนีย
– โมซัมบิก

ส่วนความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนในประเทศไทย ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองวัคซีน และขึ้นทะเบียนกับ WHO หรือ อย. แล้ว ทั้งสิ้น 7 บริษัท ได้แก่

1. วัคซีน CoronaVac ของบริษัท Sinovac
2. วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท AstraZenaca/Oxford
3. วัคชีน AZD 1222 ของบริษัท Siam Bioscience /AstraZeneca/Oxford
4. วัคซีน Ad26.COV2S ของบริษัท Johnson & Johnson
5. วัคซีน Tozinameran ของบริษัท Pfizfer/BioNTech
6. วัคซีน Covishield ของ Serum Institute of India
7. วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube