fbpx
Home
|
เศรษฐกิจ

“เฉลิมชัย”สั่ง Fruit Board ลุยผลไม้ใต้-ลำใยเหนือ

Featured Image
“เฉลิมชัย”สั่ง Fruit Board เร่งทำงานเชิงรุก ดูแล “ผลไม้ใต้-ลำไยเหนือ” 1.5ล้านตัน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ.กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ซึ่งเป็นกลไกแกนหลักของ Fruit Board เร่งทำงานเชิงรุกดูแลผลไม้ภาคใต้และลำไยภาคเหนือภายใต้แผนปฏิบัติการปี 2564 โดยเฉพาะในช่วงพีคของฤดูกาลผลิตปีนี้ โดยให้เน้นการขับเคลื่อนแผนการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ให้ใช้แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกที่เพิ่งผ่านมาเป็นตัวอย่างซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจทั้งเรื่องราคาและตลาดจากการทำงานเชิงรุกและเพิ่มกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆเช่นระบบสั่งซื้อล่วงหน้า(Pre-order)บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในการส่งออกทุเรียนไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังได้ย้ำเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

"เฉลิมชัย"สั่ง Fruit Board ลุยผลไม้ใต้-ลำใยเหนือ ฝ่าวิกฤตโควิด-19

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ ตนเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านระบบ ZOOM ล่าสุดร่วมกับนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ อาทิ การเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563  ผลการบริหารจัดการผลไม้ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม – มิถุนายน) ในพื้นที่ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) และภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) การประเมินสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2564 (ภาคเหนือ และภาคใต้) และได้เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 และการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหามะม่วงของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดชัยภูมิ

ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ดูแลตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Value chain) ตามพื้นที่การผลิต (Areas -Products base) และคณะทำงานด้านระบบข้อมูลโลจิสติกส์ และคณะศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าเช่นลำไย อีกด้วย

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด19 ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยกับชาวสวนมะม่วงที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับชาวนา และชาวสวนลำไย โดยเสนอขอชดเชยไร่ละ 2,000 บาท คนละไม่เกิน 25 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท และการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตกต่ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8,920 ครัวเรือน พื้นที่ 15,057 ไร่ ผลผลิต 11,292 ตัน โดยประสงค์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อชดเชยราคาผลผลิตมะม่วง จำนวน 535,930,250 บาท ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตาม 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัยโมเดล เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด ภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยบูรณาการทุกภาคส่วน และใช้เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรต่อไปอย่างยั่งยืน

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube