fbpx
Home
|
ทั่วไป

สรุป PDPA พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณต้องรู้

Featured Image

          ทุกวันเราเกือบทุกคนทำงานผ่านระบบดิจิทัล ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ มันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตทำงานจนไปถึงการใช้ชีวิตปกติไปแล้ว แน่นอนว่าต้องมีการนำเข้าข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์ติดต่อ ที่อยู่ แน่นอนว่าหากข้อมูลพวกนี้ถูกนำไปใช้โดยที่เราไม่ยินยอม ก็คงไม่ดีและอาจจะเกิดความเสียหายได้ เลยต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ในเมื่อเริ่มประกาศใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้วเราก็ควรรู้จักไว้สักหน่อย ว่ามีอะไรที่สำคัญบ้าง โดยจะเน้นไปที่ผู้ใช้ ไม่ใช่องค์กร

PDPA คืออะไร ย่อมาจากอะไร? 

          PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต 

          โดยกฎหมาย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และปัจจุบันได้ถูกเลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 

          สรุปคือ PDPA มีขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อนไม่เช่นนั้นบริษัทหรือบุคคลที่เอาไปจะมีความผิด 

 

ข้อมูลส่วนบุคคลหลักๆ มีอะไรบ้าง? 

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ  ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม แต่จะไม่นับรวมข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ 

  • ชื่อ-นามสกุล 
  • เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ 
  • เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว 
  • ที่อยู่ปัจจุบัน
  • ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์
  • ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน
  • ข้อมูลที่เชื่อมโยงไปหาบุคคลได้ เช่น วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง
  • ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password,  Cookies IP address,  GPS Location

 ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data)

  • เชื้อชาติ
  • เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง 
  • ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ 
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต 
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ

ใครที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง?

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือคน บริษัทหรือ นิติบุคคล องค์กรต่าง ๆ  ที่มีอำนาจตัดสินใจว่า จะมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไร เสมือนผู้ดูแลระบบ มีหน้าที่เก็บรวบรวม และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอความยินยอมแล้วไปใช้ 
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ คน บริษัทหรือ นิติบุคคล องค์กรต่าง ๆ ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะทำภายใต้คำสั่ง หรือในนามของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เท่านั้น ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง 

 

เราในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Data Subject ได้สิทธิอะไรบ้าง? 

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ ก่อนที่จะถูกเก็บข้อมูลต้องมีการแจ้งให้ทราบ ว่าเก็บอะไรบ้าง ไปทำอะไรบ้าง เก็บนานแค่ไหน 
  • สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล โดยการข้อเข้าถึงนี้ต้องไม่ผิดต้องหลักกฏหมายหรือส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น
  • สิทธิคัดค้านหรือใช้ข้อมูล
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูล 
  • สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม
  • สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล 
  • สิทธิในการร้องเรียน 

 

มีโทษหากไม่ปฎิบัติตาม PDPA

  • โทษอาญา: จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษแพ่ง: ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายจริง
  • โทษปกครอง: โทษปรับไม่เกิน 1 ,3 และ 5 ล้านบาท

          สำหรับองค์กรหรือบริษัทก็ต้องจัดทำ Privacy Policy ให้เจ้าของข้อมูลทราบว่าจะใช้ข้อมูลไปทำอะไรบ้าง แจ้งนโยบายความเป็นส่วนตัวให้แก่พนักงาน และหากจะนำข้อมูลไปใช้ก็ต้องทำตาม PDPA อย่างเคร่งครัด ปัจจุบันก็มีหลายบริษัทที่ช่วยจัดทำเกี่ยวกับ PDPA ก็สามารถใช้บริการได้ตามที่บริษัทสนใจ ส่วนเราทุกคนควรรู้สิทธิเพื่อที่จะป้องกันตัวเอง 

ติดตามข่าวดีๆแบบนี้ได้ที่สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอขอบคุณข้อมูล 

ratchakitcha

dga

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube