fbpx
Home
|
ไลฟ์สไตล์

สรุป #14ตุลา วันมหาวิปโยค ชัยชนะครั้งแรกของประชาธิปไตยไทย

Featured Image

          เป็นเวลากว่า 48 ปีแล้วหลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ในปี 2516 ที่ประชาชนนำโดยนิสิตออกมาชุมนุมเรียกร้องถามหาประชาธิปไตยกับระบบเผด็จการ 

          แม้เหตุการณ์นี้จะใกล้เคียงกับ 6 ตุลา จนสับสนได้ว่าเหตุการณ์ไหนเกิดก่อน แต่ความจริงแล้วเหตุการณ์ 14 ตุลาคมนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าถึง 3 ปี และเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ 6 ตุลา วันแห่งการสังหารใหญ่ของประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงวิวัฒนาการประชาธิปไตย iNN ร่วมเป็นกระบอกเสียงสรุปสาระสำคัญของเหตุการณ์วันที่ 14 มาให้แล้ว

เริ่มต้นจาก ป.

  • ย้อนกลับไปก่อนหน้า คือในช่วงปี 2500 ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ครองตำแหน่งนายก 2 สมัยซ้อน สร้างความไม่พอใจต่อนักศึกษาในสมัยนั้นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งที่สกปรก มีการทุจริต เวียนเทียนหย่อนบัตร (บัตรเขย่งในปัจจุบัน) ไม่มีกรรมการประจำคูหา
  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้ามารัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. และแต่งตั้งให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงค์ตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี
  • เกิดปัญหาเศรษฐกิจและทะเลาะกันในสภาระหว่างสส.และฝ่ายค้านทำให้ นายพลถนอมประกาศลงจากตำแหน่งนายก และจับมือกับสฤษดิ์ทำการรัฐประหารรัฐบาลตัวเองอีกที ภายในระยะเวลาห่างกันเพียง 5 นาที
  • สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ามาคุมตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในฐานะทหารที่เข้ามารักษาความสงบ ประกาศใช้รัฐธรรม 20 มาตราควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ มาตราหนึ่งในนั้นได้กำหนดนายกรัฐมนตรีสามารถปราบปรามการกระทำที่ส่อแววให้เกิดความไม่มั่นคงของประเทศได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย (คุ้นๆ)
  • ประเทศไทยเข้าสู้รัฐบาลเผด็จการเต็มรูปแบบถึงขนาดได้ฉายาว่า ยุคของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นยุคการปกครองแบบพ่อขุนอุปถัมเผด็จการ

 

3 หน่อ ‘สฤษดิ์ ถนอม ประภาส’

  • พ.ศ. 2506 สฤษดิ์ ธนะรัชต์เสียชีวิตด้วยปัญหาสุขภาพ ทำให้ถนอม กิตติขจรได้เข้ามาถือเก้าอี้นายกต่อ โดยมีจอมพลประภาส จารุเสถียรคุมกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ.2514 ปัญหาเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ รวมถึงการควบคุมเสียง สส. ในสภาไว้ไม่ได้ นายกถนอมเลยทำการรัฐประหารรัฐบาลตัวเองซะเลย สิ่งนี้ตอกย้ำได้ว่าการรัฐประหาร ได้กลายเป็นอาวุธไว้ควบคุมอำนาจของตัวเอง
  • อย่างที่บอกเพราะปัญหาเศรษฐกิจรวบถึงความขัดแย้งของรัฐบาลทำให้ประชาชนที่นำโดยนิสิตนักศึกษารวมตัวการเสียดสีการทำของ ถนอม กิตติขจร ภายใต้ชื่อ ศนท. (ศูนย์กลางนักศึกษาแห่งประเทศไทย)
  • จากการออกมาพูดถึงปัญหารัฐบาลได้พัฒนาต่อยอดเป็นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญใหม่ แกนนำ ศนท. หลายคนถูกจับกุมตัวข้อหาเป็นกบฎ นำไปสู่การชุมนุมครั้งใหญ่ เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำและเรียกร้องให้จัดตั้งรัฐธรรมนูญโดยเร็ว

 

จุดเริ่มต้นของ 14 ตุลา 2516

  • ในวันที่ 13 ตุลาคม แม้จะมีการเจรจากับทางการให้มีการปล่อยตัวแกนนำรวมถึงมีประกาศเตรียมยกเลิกการชุมนุม แต่ด้วยปัญหาการสื่อสารในสมัยก่อนทำให้ทหารและตำรวจยังคงล้อมผู้ชุมนุมอยู่
  • เกิดการปะทะขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม ทำให้นักศึกษาและประชาชนบางส่วนหนีตายปีนรั้วหนีเข้าไปในพระตำหนักสวนจิตรลดา โดยหวังเอาพระบารมีเป็นที่พึ่งเพื่อรอเจรจาทางการต่อไป
  • เช้ามืดของวันที่ 14 ตุลาคม ทางกลุ่มชุมนุมสามารถติดต่อกับแกนนำที่ถูกจับไปได้แล้ว แต่เพราะมีเสียงระเบิดเกิดขึ้นทำให้การปะทะไม่มีทีท่าหยุดลง และทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม
  • ทางการสกัดผู้ชุมนุมด้วยกระบอง แก๊สน้ำตา รวมถึงอาวุธสงครามอย่างรถถัง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 77 คน และบาดเจ็บอีก 857 ราย
  • ในหลวงรัชการที่ 9 เลยทำการประกาศผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์เพื่อยุติการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
  • จากการสูญเสียครั้งนี้ทำให้แกงค์ถนอมและพรรคพวกเดินทางหลบหนีความผิดไปยังประเทศไต้หวัน มีการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นับเป็นชัยชนะครั้งแรกของประชาชนด้วยประชาธิปไตย

          ทั้งนี้มีเหตุการณ์ 14 ตุลาจะจบลงด้วยชัยชนะของประชาชน แต่การสูญเสียจากความรุนแรงของรัฐบาลก็ไม่ควรเกิดขึ้น รวมถึงเหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่นำมาซึ่งการสูญเสียครั้งใหญ่ไม่ใช่แค่ชีวิตประชาชนแต่รวมถึงเสรีภาพของมนุษย์ทุกคนใต้บทบัญญัติของคำว่าประชาธิปไตย

          หากใครชอบสรุปเรื่องราวต่างๆภายในประเทศไทย มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นนี้ต่อได้ที่ Facebook Group และติดตามข้อมูลเร็วครบจบที่เดียวได้ที่ iNN

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube