fbpx
Home
|
ข่าว

“อนุทิน”สั่งอธิบดีกรมคุมโรคห้ามออกจากสมุทรสาคร

Featured Image

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครนั้น ว่า มีการระดมกำลังเต็มที่ ซึ่งตนคิดว่าสามารถควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ โดยตนได้สั่งการให้อธิบดีกรมควบคุมโรคห้ามออกจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อคอยสอบสวนโรครวมถึงขีดวงจำกัดผู้ที่มีความเสี่ยงโรค ซึ่งขณะนี้ตนรู้สึกเป็นห่วงแม่ของผู้ติดเชื้อที่มีอายุมาก เนื่องจากเข้าข่ายความเสี่ยงสูงแต่ขณะนี้ถึงมือหมอแล้ว และขณะนี้มีรายงานว่าจะมีการเพิ่มการตรวจเชื้อหลายพันคนเพื่อให้เกิดความสบายใจมากขึ้น ขออย่าตื่นตระหนกจนเกินไปรวมถึงสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือ ส่วนสาเหตุการติดเชื้ออธิบดีกรมควบคุมโรคได้รายงานว่ามาจากแรงงานต่างด้าวเนื่องจากคนที่อยู่ในเรือประมงเรียกมาแล้วกว่าจะบอกความจริง ต้องเค้นเพื่อพิสูจน์ความจริง เช่น การพิสูจน์ผ่านทางโทรศัพท์ว่าโทรจากที่ใดไปที่ใดเพื่อให้รู้ต้นตอของโรค ทั้งนี้นายอนุทินยืนยันว่าจะต้องปิดเคสนี้ให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ ส่วนจำเป็นให้ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวต้องตรวจโรคทุกคนหรือไม่ นายอนุทินระบุว่า หากเป็นการลักลอบนำแรงงานเข้ามาเป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งตอนนี้ตนกำลังคิดอยู่หากเป็นผู้ที่ดำเนินการเข้ามาอย่างถูกต้องอาจมีจำนวนมากจึงอาจเป็นการทดสอบแบบกลุ่ม หากกลุ่มไหนไม่พบเชื้อก็ปล่อยตัวได้ หากพบเชื้อก็นำกลุ่มย่อยๆมาตรวจเชื้อทุกคนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณซึ่งกรมควบคุมโรคพยายามหาวิธีหาวิธีให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดงบประมาณ เรื่องพวกนี้หากไม่ได้รับความร่วมมือก็จะเกิดความเสียหาย ส่วนจะสามารถออกคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินให้ผู้ประกอบการนำแรงงานไปตรวจโรคทุกคนได้หรือไม่นั้น สามารถทำได้แต่ยังไม่ถึงจุดนั้น หากถึงจุดนั้นตนทำแน่นอนซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการระบาดนอกลงยังคงเป็นบุคคลที่สามารถตามตัวเจอได้ โดยในวันพรุ่งนี้ตนจะลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครไปคุยกับผู้ประกอบการ นายอนุทิน ยังกล่าวถึงการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาวัคซีนและการสนับสนุนการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของคนไทย ว่า คณะแพทยศาสต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารายงานความคืบหน้าการทดลองวัคซีนในส่วนของคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ โดยได้ให้การสนับสนุนไปกว่า 370 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ผ่านการทดลองในสัตว์ทดลองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังจองวัตถุดิบต่างๆโดยจะผลิตเป็นวัคซีนตัวอย่าง เพื่อฉีดในอาสาสมัครภายในเดือนเมษายน 2564 โดยทางจุฬาฯได้ขอสนับสนุนเพิ่มเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตวัคซีน ซึ่งการให้งบจะเป็นช่วงๆไปที่มาจากการกันเงินไว้ภายใต้โครงการเงินกู้ 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวังหากจำเป็นก็ต้องใช้ หากไม่จำเป็นก็จะไม่ใช้ รัฐบาลต้องวินวิน จะเสี่ยงไม่ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะที่จองไว้กับมหาวิทยาลัย Oxford บริษัทแอสต้าเซ็นก้า 26 ล้านโดส จะได้ประมาณกลางปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แต่หากมีวัคซีนจากทางจุฬาฯ ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA หากประสบความสำเร็จ ที่ต้องผ่านการยืนยันความปลอดภัย เรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดความมั่นคงและทำให้เกิดการกระจายวัคซีนได้มากขึ้น ส่วนโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดรับบริจาคคนละ 500 บาทนั้น เป็นคนละส่วนกัน ซึ่งเป็นในส่วนของบริษัทไฟโตฟาร์มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งการผลิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือเป็นการผลิตจากคนไทยเพื่อคนไทย หากสำเร็จได้ให้นึกว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์รวมควบคุมโรค ป้องกันโรค รักษาโรค ครบวงจร ทั้งนี้ นายอนุทิน ยืนยันว่า การทดลองฉีดวัคซีนในกลุ่มตัวอย่างจะไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายโดยจะเลือกฉีดในกลุ่มเสี่ยง ใครไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ไม่ต้องฉีด โดยกรมควบคุมโรคจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube